ลูก5ขวบ ยื่นสงเคราะห์บุตรได้ไหม

สำนักงานประกันสังคม เชิญชวนผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 ยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 เช็คเงื่อนไขสำคัญ สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตน

สำนักงานประกันสังคม เชิญชวนผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 ที่มีบุตรอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ ยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตร สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนรับเงินเดือนละ 800 บาทต่อบุตร 1 คน คราวละไม่เกิน 3 คน 

สำหรับเงื่อนไขรับสิทธิยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท

  • เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39
  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
  • เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรม)
  • อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน 
  • ผู้ประกันตนพ่อหรือแม่ สามารถเลือกใช้สิทธิได้ 1 สิทธิ

การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร 

  • เมื่อบุตรมอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
  • บุตรเสียชีวิต 
  • ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

สามารถยื่นเรื่องได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา/ที่ท่านสะดวก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่สายด่วน 24 ชั่วโมง โทร 1506 หรือ www.sso.go.th 

          ผู้ประกันตนชายสามารถเบิกเงินสงเคราะห์ จำนวน 800 บาท/เดือน ได้เช่นเดียวกันกับผู้ประกันตนหญิงเลย แต่จะใช้สิทธิ์ได้เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้นนะ คือ ถ้าทั้งคุณพ่อและคุณแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ต้องเลือกว่าจะให้ใครใช้สิทธิ์ ไม่สามารถใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองคนได้

“เงินสงเคราะห์บุตร” คือ เงินที่สำนักงานประกันสังคม มอบสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่มีบุตรแรกเกิด สามารถยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรได้จนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์

สิทธิประโยชน์จะเกิดขึ้นได้ เมื่อ..

1. เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือมาตรา 39 ของสำนักงานประกันสังคม

2. ผู้ประกันตน ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์

3. เป็นบุตรที่ชอบด้วยด้วยกฎหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรม)

เมื่อผ่านข้อกำหนดเงื่อนไขนั้น ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรจำนวน 800 บาทต่อ 1 คนต่อเดือน คราวละไม่เกิน 3 คน ตั้งแต่อายุแรกเกิดจนมีอายุถึง 6 ปีบริบูรณ์ โดยผู้ประกันตนที่เป็นพ่อหรือแม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้เพียง 1 คนเท่านั้น

ขั้นตอนการยื่นขอรับ “เงินสงเคราะห์บุตร”

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01) สามารถดาวน์โหลดได้ผ่านเว็บของสำนักงานประกันสังคม

2. กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ ต้องแนบสำเนาสูติบัตรบุตร จำนวน 1 ชุด หากเป็นผู้ชาย ต้องยื่นสำเนาทะเบียนสมรส สำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตน สำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย อย่างใดอย่างหนึ่ง จำนวน 1 ชุด ประกอบการพิจารณา

3. หากผู้ประกันตนเปลี่ยนชื่อและสกุล ให้แนบสำเนาเอกสารด้วย จำนวน 1 ชุด

4. หากผู้ประกันตนขอรับประโยชน์ทดแทน เป็นชาวต่างชาติ ให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคมและสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด

5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ

6. หากเอกสารประกอบการยื่นคำขอที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ www.sso.go.th หรือ และ Line Official Account @ssothai ของสำนักงานประกันสังคม หรือ สายด่วนประกันสังคม โทร.1506 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่สะดวกได้ทุกแห่งในวันและเวลาราชการ

คุณพ่อคุณแม่ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาทจากประกันสังคมกันแล้วหรือยังเอ่ย ตอนนี้เงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคมให้เพิ่มเป็น 800 บาท บางคนอาจจะกำลังยื่นเรื่อง บางคนงงมากเพราะตัวเองไม่ตรงตามเงื่อนไขหลักเลยยังไม่ยื่น มาค่ะ มาเคลียร์ทุกความสงสัย ทุกปัญหาเรื่องการยื่นเรื่องขอรับประโยชน์ทดแทนเงินสงเคราะห์บุตรที่พ่อแม่อยากรู้และถามมากที่สุด เริ่ม!!!

  1. ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วกี่เดือน จึงจะใช้สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรได้

คำตอบ: ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิต่อเมื่อได้มีการนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่ได้รับสิทธิ

  1. สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรจ่ายให้บุตรที่มีอายุกี่ปี

คำตอบ: ผู้ประกันตนสามารถขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์

  1. กรณีเป็นผู้ประกันตนทั้งสามีและภรรยา สามารถใช้สิทธิสงเคราะห์บุตรทั้ง 2 ฝ่าย ได้หรือไม่

คำตอบ: สามารถใช้สิทธิฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น 

  1. บุตรบุญธรรมสามารถนำมายื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรได้หรือไม่

คำตอบ: บุตรบุญธรรมไม่สามารถนำมาเบิกสงเคราะห์บุตรได้

  1. ผู้ประกันตนมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตรได้กี่ครั้ง

คำตอบ: ใช้สิทธิเบิกได้คราวละไม่เกิน 3 คน 

  1. ถ้าผู้ประกันตนมีบุตรอายุ 3 ปี แต่ไม่ได้ยื่นเรื่องขอรับเงินสงเคราะห์บุตร สามารถยื่นขอรับเงินย้อนหลังได้หรือไม่  สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายย้อนหลังให้หรือไม่ / อย่างไร

คำตอบ: การเบิกสิทธิกรณีสงเคราะห์บุตรทางสำนักงานประกันสังคมจะต้องทำการตรวจสอบ การนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน  หากมีการนำส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนบุตรคลอด จึงจะมีการย้อนหลังให้ไม่เกิน 1 ปี  ตามที่กฎหมายกำหนด ยกเว้น กรณีผู้ประกันตนมิได้นำส่งเงินสมทบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินให้ผู้ประกันตน  ณ วันที่สิทธิเกิดขึ้นเท่านั้น

  1. พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ยังสามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคมได้ไหม

คำตอบ: สำหรับคุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนอยู่แล้ว และเป็นผู้ยื่นเรื่อง สามารถยื่นขอเงินสงเคราะห์บุตรได้ด้วยการใช้หนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรสแทนทะเบียนสมรส สำหรับคุณพ่อเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้ว และเป็นผู้ยื่นเรื่อง จะต้องมีหนังสือรับรองบุตรก่อน ขอขอรับสิทธิ์สงเคราะห์บุตร ต้องไปที่เขต/อำเภอที่เราอาศัยครับ แล้วร้องขอรับรองบุตรก่อน โดยยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต และใช้เอกสารดังนี้ บัตรประจำตัวประชาชน ของบิดา มารดา สูติบัตรของบุตร / พยานบุคคลจำนวน 2 คน

  1. พ่อหรือแม่เป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 สามารถใช้สิทธิเบิกเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคมได้ไหม

คำตอบ: ได้ แต่ต้องเป็นในเงื่อนไข คือ เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ใน 36 เดือน โดยจ่ายเงินสมทบ 9% จากฐานเงินเดือนเฉลี่ยที่ 4,800 บาท (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน)

  1. เงินสงเคราะห์บุตรเข้าทุกวันที่เท่าไหร่

คำตอบ: โดยปกติแล้วจะได้รับทุกสิ้นเดือน แต่หากมีตรงกับวันหยุดอาจจะมีการเลื่อนออกไปบ้างเล็กน้อย หากเงินสงเคราะห์บุตรไม่เข้าบัญชี สามารถติดต่อประกันสังคมสาขาที่เคยยื่นเรื่องไว้ หรือโทรสอบถามกับสายด่วนประกันสังคม 1506 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลให้อีกครั้ง

  1. ไม่ได้ยื่นเรื่องขอเงินสงเคราะห์บุตร ยื่นเรื่องและขอเบิกย้อนหลังได้ไหม

คำตอบ: ได้ แต่ทางสำนักงานประกันสังคมจะต้องทำการตรวจสอบ การนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน หากมีการนำส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนบุตรคลอดจึงจะมีการย้อนหลังให้ไม่เกิน 1 ปีตามที่กฎหมายกำหนด ยกเว้น กรณีผู้ประกันตนมิได้นำส่งเงินสมทบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินให้ผู้ประกันตน  ณ วันที่สิทธิเกิดขึ้นเท่านั้น

ขอบขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม และหากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม สามารถเข้าไปสอบถามได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือ  SSO สายด่วน 1506 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita