คํา น. วณ ค่าไฟแอร์ 36000 BTU

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณอัตราการกินไฟ (Power Consumption) ของบริษัทผู้ผลิต ถ้ายิ่งสูง ค่าไฟจะมาก แต่ละยี่ห้อจะไม่เท่ากัน ดูได้จากแค๊ตตาล็อคสินค้า และการตั้งอุณหภมิแอร์ ยิ่งตั้งต่ำ จะยิ่งใช้ไฟมาก

วิธีการคำนวณ

ค่าไฟต่อเดือน = จำนวนวัตต์ Watt x จำนวนชั่วโมงที่ใช้จริง * ค่าไฟต่อหน่วย x อัตราการทำงาน 80%  x 30 วัน

1000

ตัวอย่างเช่น แอร์มิตซูบิชิ MS-SGH13VC

อัตราการกินไฟ (จำนวนวัตต์) = 1040

ค่าไฟต่อหน่วย = 3 บาท

ชั่วโมงที่ใช้งาน ประมาณ 8 ชั่วโมง

 

= (1040 * 8*3*80%*30)/1000

= 599 บาท/เดือน

ค่าไฟต่อเดือน = ขนาดทำความเย็น (kw) x จำนวนชั่วโมงที่ใช้จริง * ค่าไฟต่อหน่วย x อัตราการทำงาน 80%  x 30 วัน

การคำนวนค่าไฟฟ้าจะคำนวนจากมิเตอร์ไฟฟ้า นับเป็น หน่วย(ยูนิต) เช่น ค่ามิตเตอร์ไฟฟ้าใช้ไป 10 ยูนิต ก็เอา 10 คูณ กับ อัตราค่าไฟตามเรทการใช้ไฟ ก็จะเป็นค่าไฟที่ต้องจ่าย

1.อัตราปรกติแบบก้าวหน้า ใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน

・หน่วยที่ 1-15 หน่วยละ 2.3488 บาท

・หน่วยที่ 16-25  หน่วยละ 2.9882 บาท

・หน่วยที่ 26-35  หน่วยละ  3.2405 บาท

・หน่วยที่ 36-100  หน่วยละ  3.6237 บาท

・หน่วยที่ 101-150  หน่วยละ  3.7171 บาท

2.อัตราปรกติแบบก้าวหน้า ใช้ไฟเกิน 150 หน่วยต่อเดือน

・หน่วยที่ 1-150 หน่วยละ  3.2484 บาท

・หน่วยที่ 151-400 หน่วยละ  4.2218 บาท

・หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป ราคาหน่วยละ  4.4217 บาท

โดยอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่มีป้ายบ่งชี้อัตราการกินไฟ (กำลังวัตต์)มาให้ก็จะสามารถคำนวนค่าไฟคร่าวๆได้ โดยเอา กำลังวัตต์(W)มา คูณ กับเวลาการใช้งาน หารด้วย 1000 จะได้ หน่วย(ยูนิต)แล้วนำมาคูณกับอัตราค่าไฟตามเรท ก็จะได้ค่าไฟออกมา เช่น

เตารีด 1000 วัตต์(W) รีดผ้า 1 ชั่วโมง จะต้องจ่ายค่าไฟในการีดผ้าครั้งนี้กี่บาท?

1000 W x 3 ชั่วโมง / 1000 = 3 หน่วย(ยูนิต)

เอา 3 หน่วย x 2.3488 บาท = 7.05 บาท เป็นต้น

หมายเหตุ ที่ต้องหารด้วย 1000 เพราะว่า มิเตอร์ 1 หน่วย เท่ากับ การใช้ไฟจำนวน 1000 วัตต์ ในเวลา 1 ชั่วโมง คือ หากมีการใช้ไฟในอัตรา 1000 วัตต์ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง มิเตอร์ไฟฟ้าจะหมุนได้ 1 รอบ

แล้วถ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ระบุวัตต์ละ จะคำนวนอย่างไร ? เช่น แอร์ระบุค่าเป็น BTU เราก็สามรถคำนวนได้จากการเทียบแปลง BTU ให้เป็นวัตต์ก่อน โดย 1 BTU เท่ากับ 0.293071 วัตต์  1000 บีทียู เท่ากับ 293.1 วัตต์

ยกตัวอย่าง หาค่าไฟฟ้าของ แอร์ 45000 BTU จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 8 ชั่วโมง จะต้องเสียค่าไฟฟ้าเดือนละกี่บาท

วิธีคำนวณ 45000 BTU = 293.1 x (45000 / 1000) = 13.190 กิโลวัตต์/ชั่วโมง (kw/hr) หรือ ก็คือ 13.190 หน่วยนั่นเอง

จากนั้นเอามาคูณกับ ชั่วโมงใช้งาน คือ 8 ชั่วโมงและคูณกับ อัตราเรทค่าไฟ กรณีนี้ใช้ไฟเยอะ เลือกคำนวณให้สมจริงโดยเลือกเรท 4.4217 บาทต่อหน่วย จะได้เป็น

13.190 x 8 x 4.4217 = 466.58 บาท ต่อวัน (วันละ 8 ชั่วโมง)

จะเป็นเดือนละ 466.58 x 30 = 13,997.40 บาท/เดือน

หากกรณีมีแอร์ชนิดเดียวกัน 2 เครื่อง จะเป็น 13,997.40 x 2 = 27,994.80 บาท/เดือน

ทั้งนี้ยังไม่คำนวนรวมกับสภาพของแอร์ หากเป็นแอร์ที่ใช้งานมานาน แอร์เก่า อัตราการกินไฟจะสูงกว่านี้แน่เล็กน้อย ดังนั้นควรหมั่นตรวจสอบเช็คบำรุงรักษาสภาพแอร์อยู่เสมอ เพื่อให้มีอายุการใช้งานและประสิทธิภาพที่ดีอยู่เสมอด้วยนะ

หากเห็นว่าค่าไฟแพง หันมาใช้พลังงานทดแทนอย่างพลังงานโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจและยั่งยืนเลยทีเดียว

คำถามยอดฮิตอันดับสองรองจากแอร์ยี่ห้อไหนดีของลูกค้าสยามเจริญแอร์เราคือ “แอร์ตัวนี้...กินไฟไหม” คำตอบของเราจะอ้างอิงค่าไฟรายปีจากฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ที่ออกโดยกระทรวงพลังงาน เพราะฉนั้นหากท่านมีแอร์อยู่แล้ว แนะนำให้ดูค่าไฟจากฉลากประหยัดไฟบริเวณหน้ากากแอร์ของท่านได้เลยครับ ทั้งนี้ค่าไฟที่แสดงดังกล่าวมักจะอ้างอิงจากการใช้งานปกติโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 8 ชั่วโมง/วันครับ หรือท่านสามารถกรอกค่าต่าง ๆ ผ่านเครื่องคำนวณด้านล่างเพื่อดูค่าไฟได้ทันที

แบบฟอร์มคำนวณค่าไฟแอร์

หากท่านต้องการคำนวณค่าไฟโดยคร่าวเองท่านสามารถลองเติมตัวเลขเข้าแบบฟอร์มคำนวณด้านล่างนี้ได้เลยครับ

หาดูได้จากแคตตาล็อกหรือหน้าสินค้าของเราครับ

โดยเฉลี่ยจะเป็น 8 ชั่วโมงต่อวัน ท่านสามารถเลือกเปลี่ยนได้ตามการใช้งาน

ระบุค่าไฟต่อหน่วยตามอัตราก้าวหน้า 3.96 เป็นแค่ค่าเฉลี่ยเท่านั้น

หรือถ้าท่านอยากทราบที่มาว่าค่าไฟที่ระบบคำนวณนั้นมาอย่างไร ลองอ่านในหัวข้อถัดไปได้เลยครับ

ค่าที่ท่านต้องหามาเข้าสูตรมี 5 ค่าครับ

  1. BTU
  2. ค่า SEER
  3. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อวัน
  4. จำนวนวันที่ใช้งาน
  5. ค่าไฟต่อหน่วยตามการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

แล้วนำไปเข้าสูตรด้านล่างนี้ครับ

BTU / ค่า SEER / 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อวัน x จำนวนวันที่ใช้งาน x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย

เช่นค่าไฟแอร์ยี่ห้อแคเรียร์ รุ่น X-Inverter Plus รหัสรุ่น 42TVAB018/38TVAB018

  1. ขนาด 18,000 BTU  
  2. ค่า SEER 22.5 (หาดูได้จากแคตตาล็อกหรือหน้าสินค้าของเราครับ)
  3. ใช้วันละ 8 ชั่วโมง
  4. คำนวณต่อเดือนตีไป 30 วัน
  5. ค่าไฟฟ้าสมมุติหน่วยละ 3.2484 บาท (ใช้น้อยกว่า 150 หน่วยต่อเดือน)

ก็จะได้เป็น

18000 / 22.5 / 1000 x 8 x 30 x 3.2484 = 624 บาท

ค่าไฟแคเรียร์ รุ่น X-Inverter Plus ขนาด 18000 BTU ก็จะประมาณ 624 บาท/เดือนครับ ถ้าอยากทราบรายปีก็เอาไปคูณ 12 ก็จะได้เป็น 7,488 บาท/ปี

อย่างไรก็ตามหากท่านดูจากฉลากประหยัดไฟ ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจะเป็นค่าเฉลี่ยคือ 3.96 ครับ เนื่องจากค่าไฟฟ้ามีการแปรผันตามอัตราก้าวหน้า ถ้าเราลองมาคำนวณตามค่าเฉลี่ย 3.96 ก็จะได้ดังนี้ครับ

18000 BTU / ค่า SEER 22.5 / ค่าคงที่ 1000 x 8 ชั่วโมงที่ใช้ต่อวัน x 365 วัน x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย 3.96 = 9250.56 หรือปัดเศษ 9,251 บาท/ปี ตามฉลากเป๊ะๆเลยครับ

หากท่านกำลังสงสัยว่าแล้วตัว "ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย" ของบ้านท่านมันหน่วยละกี่บาทกันแน่ ท่านสามารถดูตารางด้านล่างนี้ได้เลยครับ

1.1 อัตราปกติปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน

จำนวนหน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง)หน่วยละ (บาท)15 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1 – 15)2.348810 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 16 – 25)2.988210 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26 – 35)3.240565 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36 – 100)3.623750 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101 – 150)3.7171250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400)4.2218เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป)4.4217

1.2 อัตราปกติปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือน

จำนวนหน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง)หน่วยละ (บาท)150 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1 – 150)3.2484250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400)4.2218เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป)4.4217

1.3 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff )

On PeakOff Peakแรงดัน 12 – 24 กิโลโวลต์5.11352.6037แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์5.79822.6369

อ้างอิงตารางค่าไฟต่อหน่วยจาก การไฟฟ้านครหลวง

หากท่านมีคำถามใด ๆ เพิ่มเติม ที่สยามเจริญแอร์พอจะช่วยท่านได้ โปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อเราครับ

ขอบคุณครับ

มองหาแอร์ใหม่พร้อมติดตั้งราคาไม่แพง?

เราจำหน่ายแอร์พร้อมติดตั้งทุกยี่ห้อ ใหม่แกะกล่อง มีใบรับประกันจากผู้ผลิต รับประกันราคาคุ้มค่า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชมหน้าสินค้าของเรา

แอร์ 36000 BTU กินไฟเท่าไร

วิธีการคำนวณค่าไฟ.

คำนวณค่าไฟแอร์ยังไง

สูตรการคำนวณค่าไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ ค่าBTU. / ค่า SEER / 1000 x ชั่วโมงการใช้งาน x จำนวนวันใช้งาน x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย X-Inverter : 42TVAA013 / 38TVAA013. ขนาดแอร์ 12,200 btu. /ค่า SEER 22.50 / 1000 x 8 ชั่วโมงต่อวัน x 365 วัน x ค่าไฟฟ้า 3.96 บาท/หน่วย ค่าไฟฟ้าต่อปี 6,270 บาท

ค่าไฟแอร์กี่บาท

วิธีการคำนวณค่าไฟแอร์.

แอร์ 15000 BTU กินไฟกี่แอมป์

ซึ่งแอร์ 15,000 BTU จะมีกำลังไฟตาม Nameplate. อยู่ที่ประมาณ 1,400 วัตต์ ซึ่งจะกินกระแสอยู่ที่ประมาณ 7.6. แอมป์ ถ้าทุกคนหาแล้ว ไม่เท่ากับผม ก็เพราะว่าทุกคนต้องเอา

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita