ประวัติธนาคารแห่งประเทศไทย แบบย่อ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท. หรือแบงก์ชาติ) ได้จัดตั้ง ศคง. หรือศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2555 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการดำเนินงาน​​ด้านการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินอย่างเป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเงินแก่ผู้ใช้บริการทางการเงิน

 

ทำไมต้องคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน

จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการแข่งขันการให้บริการทางการเงินที่เข้มข้นขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้รูปแบบของผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินมีความหลากหลายและซับซ้อนยิ่งขึ้น ผู้ใช้บริการทางการเงินในยุคปัจจุบันจึงจำเป็นต้องเข้าใจบริการทางการเงินเพื่อให้สามารถเลือกใช้บริการทางการเงินที่เหมาะสมกับความต้องการของตนเอง ลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้บริการ รวมทั้งรู้เท่าทันการหลอกลวงทางการเงินจากกลุ่มมิจฉาชีพ ​เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อภัยทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ ด้วย

​นอกจากนี้ ในปัจจุบันผู้ใช้บริการทางการเงินมีความคาดหวังที่จะได้รับการคุ้มครองและปกป้องสิทธิทางการเงินมากขึ้น ประกอบกับ ธปท. เองก็มีหน้าที่​หรือพันธกิจที่จะต้องดูแลให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมจากการใช้บริการทางการเงินจากสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. มากที่สุด ทั้งหมดจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม ธปท. จึงต้องคุ้มครอง​ผู้ใช้บริการทางการเงิน 

​โครงสร้างอ​งค์กร​​

ศคง. มีบทบาทหน้าที่อย่างไร

​ศคง. มีบทบาทหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ​

01

ให้คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียน

​เกี่ยวกับบริการทางการเงินของสถาบั​นการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินที่อยู่ภ​ายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. เพื่อเป็นช่องทางรับฟัง ช่วยแก้ไขปัญหา และติดตามผลให้แก่ประชาชน รวมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริการทางการเงินที่ ธปท. ดูแล ได้แก่ ธนบัตร พันธบัตร และกฎระเบียบธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ

02

ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับบริการทางการเงิน

เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เบื้องต้นทางการเงินอย่างเพียงพอที่จะดูแลตัวเองได้ เข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเอง รู้จักวางแผนการเงินสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการทางการเงินได้อย่างเหมาะสมและรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมกลโกง โดยดำเนินการผ่านสื่อความรู้และการจัดกิจกรรมต่าง ​ๆ​​​​

03

ส่งเสริมบทบาทหน้าที่ของ ธปท.

ในการกำกับดูแลให้สถาบันการเงินให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม โดยการส่งผ่านข้อมูลปัญหา ข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการกำหนดนโยบายตรวจสอบและกำกับดูแลสถาบันการเงินให้ดำเนินการ​อย่างถูกต้องและคำนึงถึงสิทธิขั้น​พื้นฐานของผู้ใช้บริการทางการเงินต่อไป

ก. ส่วนงานในสำนักงานใหญ่ ประกอบด้วย(1) สายนโยบายการเงิน มีหน้าที่ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ติดตามภาวะเศรษฐกิจไทยทั้งภาคการผลิต การใช้จ่าย การเงิน การคลัง อัตราแลกเปลี่ยน ตลาดการเงิน ดุลการชำระเงินของประเทศ หนี้ต่างประเทศ สินทรัพย์ต่างประเทศ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ฐานะเงินลงทุน และเงินสำรองระหว่างประเทศ เพื่อเสนอแนะการดำเนินนโยบายการเงิน และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งประเมินผลกระทบของมาตรการต่างๆ ที่จะมีผลต่อเสถียรภาพและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งดำเนินงานวิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวกับงานหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งด้านเศรษฐกิจการเงิน สถาบันการเงิน และระบบการชำระเงิน(2) สายตลาดการเงิน มีหน้าที่ ดำเนินการผ่านตลาดการเงินตามกรอบนโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา การบริหารทุนสำรองทางการ และกำกับ ดูแล การควบคุมแลกเปลี่ยนเงินตรา(3) สายนโยบายสถาบันการเงิน มีหน้าที่ ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน พัฒนา กำหนดนโยบาย และ หลักเกณฑ์ ในการกำกับดูแลสถาบันการเงินและระบบการชำระเงิน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อส่งเสริมให้ระบบสถาบันการเงินมีความมั่นคง แข็งแกร่ง เป็นที่เชื่อถือของประชาชน และมีความสามารถในการแข่งขันในตลาด(4) สายกำกับสถาบันการเงิน มีหน้าที่ กำกับ ตรวจสอบ วิเคราะห์ฐานะและการดำเนินงาน ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน เพื่อให้มีเสถียรภาพ (5) สายจัดการกองทุน มีหน้าที่ ดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือในทางการเงิน เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ ภายใต้กรอบนโยบายของ ธนาคารแห่งประเทศไทย และรัฐบาล บริหารจัดการทรัพย์สิน หนี้สินและพันธบัตรกองทุน และกำกับดูแลการจัดการด้านนโยบายบริหารสินทรัพย์และสถาบันการเงินที่กองทุนเป็นผู้ถือหุ้น (6) สายช่วยงานบริหาร มีหน้าที่ สนับสนุนระบบการบริหารจัดการงานต่างๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทยในด้านระบบการบริหารงานของผู้บริหารระดับสูง การสื่อสารประชาสัมพันธ์ ด้านกฎหมายและคดีของธนาคารแห่งประเทศไทย งานพิพิธภัณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย และงานหอสมุดและจดหมายเหตุของธนาคารแห่งประเทศไทย(7) สายระบบข้อสนเทศ มีหน้าที่ ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะแนวนโยบายการพัฒนาและให้บริการระบบการชำระเงินของประเทศ ดูแลรักษาบัญชีเงินฝากของหน่วยงานของรัฐ เป็นผู้แทนจัดการตราสารหนี้ภาครัฐและ ธปท. บริหาร จัดเก็บ รวบรวม ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติให้ได้มาตรฐานสากล สำหรับใช้ประกอบการกำหนดนโยบายการเงินและนโยบายสถาบันการเงิน และมีการเผยแพร่ข้อมูลแก่สาธารณชน ดำเนินการให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของ ธนาคารแห่งประเทศไทย อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (8) สายวางแผน มีหน้าที่ วางแผนการดำเนินงานและบริหารจัดการ ในด้านทรัพยากรบุคคล งานงบประมาณและการบริหารต้นทุน งานพัฒนาองค์กรให้มีระบบการทำงาน การบริหารจัดการ โครงสร้างองค์กร ที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และมีอัตรากำลังเหมาะสม งานประมวลบัญชี งบการเงิน และการรับจ่ายเงินของ ธปท.(9) สายปฏิบัติการ มีหน้าที่บริหารจัดการและดำเนินงานให้บริการขั้นพื้นฐานภายใน ธปท. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานและดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูล ข่าวสาร สถานที่และทรัพย์สิน การขนส่งธนบัตรและทรัพย์สินมีค่าของ ธปท. การกำกับดูแลกิจการของ ธปท. ในเขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้(10) สายออกบัตรธนาคาร มีหน้าที่ ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาล และบัตรธนาคาร ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเงินตรา(11) ฝ่ายตรวจสอบกิจการภายใน มีหน้าที่ ตรวจสอบกิจการและการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้มั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า ส่วนงานต่างๆ มีการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญอย่างเพียงพอและเหมาะสม มีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล มีการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ คำสั่ง และระเบียบพิธีปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์หลักของธนาคารแห่งประเทศไทย(12) ฝ่ายบริหารความเสี่ยงและปฏิบัติการทางการเงิน มีหน้าที่ ศึกษา วิเคราะห์ และดำเนินการ เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงทางการเงินของการบริหารเงินสำรองทางการ ตลอดจนดำเนินการเกี่ยวกับการรับชำระราคา การโอนเงิน และหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมด้านบริหารเงินสำรองและด้านตลาดการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยในตลาดเงิน ตลาดตราสารหนี้ ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา และการบริหารเงินสำรองทางการ ข. สำนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยในภูมิภาค ภายใต้การกำกับดูแลของสายปฏิบัติการมีหน้าที่ บริหาร จัดการ และดำเนินการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการธนาคารภายในประเทศ การดำเนินธุรกิจเงินตราต่างประเทศ การศึกษา วิเคราะห์ และติดตามภาวะเศรษฐกิจการเงิน รวมทั้งศึกษา ติดตาม และวิเคราะห์การประกอบธุรกิจการเงินนอกระบบและสถานะการเงินของกลุ่มธุรกิจที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเงินของท้องถิ่นและต่อประเทศ ในขอบเขตพื้นที่ภูมิภาค คือ(1) สำนักงานภาคเหนือ รับผิดชอบพื้นที่จังหวัด กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี (2) สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รับผิดชอบพื้นที่จังหวัด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ บึงกาฬ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ (3) สำนักงานภาคใต้ รับผิดชอบพื้นที่จังหวัด กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ระนอง สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี และยะลา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita