เบื่อ ที่ ทํา งาน ไม่ อยาก ไป ทํา งาน

เบื่องาน อยากลาออก ไม่อยากทำอะไรเลย อาจเป็นสัญญาณหมดไฟในการทำงาน จะรับมืออย่างไร

แม้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เริ่มผ่อนคลายมากขึ้นในช่วงเวลานี้ แต่หลายองค์กรยังคงให้พนักงาน Work from Home ต่อไปอีกระยะ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าการทำงานที่บ้านทำให้เกิดความเครียด ไม่ว่าจะเป็นการโหมงานหนักโดยไม่ได้หยุดพัก ต้องจดจ่อกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ Tablet หรือโทรศัพท์มือถือมากกว่าปกติ และมีอยู่ไม่น้อยที่รู้สึกเหนื่อยกว่าการทำงานในออฟฟิศอย่างเห็นได้ชัด จนทำให้เกิดความเหนื่อยล้า เบื่อหน่ายในการทำงานหรือเรียกอีกอย่างว่า Burnout Syndrome นั่นเอง

เครียดเรื้อรังก่อ Burnout Syndrome

ภาวะ Burnout Syndrome หรือหมดไฟในการทำงาน เกิดจากการทำงานหนักมากเกินไปจนเกิดความเครียดสะสมเรื้อรัง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ จากที่เคยสนุก มีความตั้งใจ หรือมีแรงบันดาลใจในการทำงาน ก็กลับกลายเป็นรู้สึกเหนื่อยล้า และไม่อยากทำงาน ไปจนกระทั่งมองการทำงานในแง่ลบ รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสามารถเพียงพอ และไม่ประสบความสำเร็จในการทำงาน รวมถึงรู้สึกเหินห่างจากคนอื่นไม่ว่าจะเป็นผู้ร่วมงาน หรือลูกค้า

1. ระยะฮันนีมูน (The Honeymoon) เป็นช่วงเริ่มต้นของการทำงาน ในระยะนี้เราจะมี Passion ในการทำงานมาก ตั้งใจและเสียสละเพื่องานอย่างเต็มที่ รวมถึงพยายามปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมงาน และองค์กรอีกด้วย

2. ระยะรู้สึกตัว (The Awakening) เมื่อเราทำงานไปสักพัก บางคนอาจเริ่มรู้สึกว่าการทำงานไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป ทั้งในแง่ของผลตอบแทน ความคาดหวังในตำแหน่งหน้าที่การงาน รวมถึงการเป็นที่ยอมรับ ทำให้เกิดความขับข้องใจและเหนื่อยล้าจนรู้สึกว่าชีวิตดำเนินอย่างผิดพลาด และไม่สามารถจัดการได้

3. ระยะไฟตก (Brownout) ความรู้สึกในแง่ลบและความเหนื่อยล้าเรื้อรังนั้น ส่งผลให้อารมณ์หงุดหงิดง่ายขึ้นอย่างชัดเจน จิตใจจึงตอบสนองด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อหนีความขับข้องใจ เช่น ใช้จ่ายเกินความจำเป็น ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานเริ่มลดลง จนเริ่มแยกตัวจากเพื่อนร่วมงาน รวมถึงวิพากษ์วิจารณ์องค์กรของตนเอง

4. ระยะหมดไฟเต็มที่ (Full Scale of Burnout) ในระยะนี้เราจะเริ่มรู้สึกสิ้นหวัง ล้มเหลว ไปจนกระทั่งสูญเสียความมั่นใจในตนเองไป ซึ่งเกิดจากการปล่อยให้ตัวเองอยู่ในระยะไฟตกนานเกินไปและไม่ได้จัดการกับจิตใจตนเอง

5. ระยะฟื้นตัว (The Phoenix Phenomenon) เมื่อเราเริ่มจัดการกับจิตใจตนเอง โดยการหาโอกาสให้ตนเองได้ผ่อนคลายและพักผ่อนอย่างเต็มที่ เช่น หากิจกรรมยามว่างอย่างดูหนังฟังเพลง ไปเข้าคลาสเรียนวาดรูประบายสี หรือจะเป็นการออกกำลังกายที่ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุข (เอ็นโดรฟิน, โดพามีน และ เซโรโทนิน) แถมสุขภาพดีอีกด้วย รวมถึงความคาดหวังและเป้าหมายในการทำงานให้ตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น ทำให้ความเครียดและความกดดันในการทำงานลดลง จนรู้สึกมีแรงบันดาลใจในการทำงานอีกครั้ง

6 คำถามเช็ก Burnout Syndrome

คำถามทั้ง 6 ข้อนี้จะเป็นตัวช่วยบอกว่าคุณอยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน

1 รู้สึกเครียดอย่างรุนแรง มีอาการอ่อนเพลียหรือนอนไม่หลับเนื่องจากการทำงานหรือไม่
2 กลัวที่จะต้องทำงานทุกวันหรือไม่ เกิดอาการกังวลในทุก ๆ เช้าที่ต้องทำงาน
3 กังวลเกี่ยวกับการทำงานแม้จะอยู่นอกเวลางานหรือไม่
4 เคยรู้สึกดูถูกหรือมองในทางลบอย่างรุนแรงหรือไม่ เช่น เหยียดหยามต่องานและเพื่อนร่วมงาน หรือต้องการจะห่างจากเพื่อนร่วมงาน
5 รู้สึกว่างานที่ง่ายกลายเป็นงานที่ยากหรือไม่
6 พบปัญหาทางร่างกายมากขึ้นหรือไม่ เช่น ปวดหัวมากขึ้น เหนื่อยล้าเรื้อรัง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นต้น

Burnout Syndrome แก้ได้

เมื่อทราบว่าตนเองอยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน ขอให้ถือว่าเป็นเรื่องดี เพราะทุกคนจะได้กลับมาใส่ใจตัวเองมากขึ้น และแน่นอนว่ามีหลายสิ่งที่เราสามารถทำเพื่อให้ความเครียดที่ก่อให้เกิดภาวะนี้คลายลงได้ ได้แก่

1 การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและมีคุณภาพ

2 การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นการคาร์ดีโอที่ให้หัวใจและหลอดเลือดได้รับการบริหาร ซึ่งมีผลการวิจัยว่าสามารถลดอาการเหนื่อยหน่ายอย่างมีนัยสำคัญในเวลาเพียง 4 สัปดาห์

3 การทำสมาธิแบบฝึกสติ ซึ่งในปัจจุบันมีแอปพลิเคชันที่ช่วยในเรื่องนี้ โดยจะมีบทฝึกทำสมาธิเป็นหมวดหมู่ เช่น หมวดผ่อนคลายความเครียด หมวดคลายความกังวล หรือหมวดรับมือกับความเจ็บปวด เป็นต้น ซึ่งแค่ฝึกเพียงอย่างน้อย 10 นาทีต่อวัน ก็สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายและจิตใจได้เช่นกัน

4 การนั่งสมาธิโดยการฝึกหายใจ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการทำสมาธิที่ช่วยให้ระบบการหายใจได้ออกกำลัง วิธีการคือหายใจเข้า 4 ครั้งและหายใจออก 4 ครั้ง โดยตั้งสติเพ่งความสนใจอยู่ที่ลมหายใจ เมื่อหายใจเข้านับ 1 ถึง 8 และหายใจออก นับถึง 1 ถึง 8 แล้วค่อยผ่อนลมออกทางปากช้า ๆ เป็นต้น

...ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือการรู้อย่างแท้จริงว่าตนเองอยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงานหรือภาวะซึมเศร้า เนื่องจากมีหลายอาการมีความคล้ายคลึงและทับซ้อนกันอยู่ เพื่อให้แน่ใจควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชโดยเฉพาะที่โรงพยาบาลทั่วไปหรือคลินิกทางด้านจิตเวชโดยเฉพาะก็ได้เช่นกัน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการด้านสุขภาพของกรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิตได้ที่ //www.krungthai-axa.co.th/th/HealthServices

แหล่งที่มาของข้อมูล

• คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
//www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1385
• กรมสุขภาพจิต
//www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2270
• โรงพยาบาลพญาไท
//1th.co/go41c41c41c

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita