กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่านานาชาติ

รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต การเมืองการปกครองท้องถิ่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มทร.สุวรรณภูมิ นักเรียนการแสดง รัชฟีล์มที่วี artspa ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรณาธิการข่าวสถานีโทรทัศน์เคเบิลเอทีวี บรรณาธิการเจ้าของน.ส.พ.เอทีวีวิชั่น นักเขียนอิสระ

เมื่อกรุงศรีอยุธยามีความเจริญรุ่งเรือง ชาวต่างชาติได้ติดต่อค้าขายมากขึ้น ทำให้กรุงศรีอยุธยากลายเป็นจุดหมายหนึ่งของชาวต่างชาติที่จะแวะเวียนเข้ามาทั้งการติดต่อส่วนราชการและการค้าขายจนได้ชื่อว่า เป็นเมืองท่านานาชาติอีกแห่งหนึ่งของเอเชียอาคเนย์ในสมัยนั้น

กรุงศรีอยุธยาคือ ราชธานีเก่าแก่ของสยามมาอย่างยาวนาน ซึ่งในระหว่าง 417 ปีของกรุงศรีอยุธยาได้ประสบกับทั้งความรุ่งโรจน์และตกต่ำ ปัจจัยสำคัญที่เสริมส่งให้กรุงศรีอยุธยาประสบกับความรุ่งเรืองคือ การเป็นเมืองท่าการค้านานาชาติ และการเปิดกว้างรับชาวต่างชาติที่มาพร้อมกับความมั่งคั่ง และความทันสมัย ซึ่งล้วนส่งผลต่อการเมืองภายใน เศรษฐกิจ วิถีชีวิตของชาวกรุงศรีอยุธยาแทบทั้งสิ้น ขณะที่ความขัดแย้งภายในก็มีส่วนสำคัญที่ส่งผลให้กรุงศรีอยุธยาตกต่ำ

หนังสือเล่มนี้ได้อธิบายความเป็นกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างรอบด้าน ทุกแง่มุม เสมือนเป็นคัมภีร์เรียนรู้กรุงศรีอยุธยาอย่างเข้าใจง่าย ทั้งด้านประวัติศาสตร์ การเมือง ศิลปกรรม วิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิศาสตร์ พร้อมด้วยภาพประกอบสีทั้งเล่ม ที่สำคัญคือ ภาพจำลองโบราณสถานสำคัญของกรุงศรีอยุธยาในสภาพที่สมบูรณ์ และศรชี้นำชมที่เข้าใจง่าย สวยงามน่าอ่าน

อยุธยา จากสังคมเมืองท่านานาชาติ สู่มรดกโลก

ประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม วิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์

    กรุงศรีอยุธยาคือ ราชธานีเก่าแก่ของสยามมาอย่างยาวนาน ซึ่งในระหว่าง 417 ปีของกรุงศรีอยุธยาได้ประสบกับทั้งความรุ่งโรจน์และตกต่ำ ปัจจัยสำคัญที่เสริมส่งให้กรุงศรีอยุธยาประสบกับความรุ่งเรืองคือ การเป็นเมืองท่าการค้านานาชาติ และการเปิดกว้างรับชาวต่างชาติที่มาพร้อมกับความมั่งคั่ง และความทันสมัย ซึ่งล้วนส่งผลต่อการเมืองภายใน เศรษฐกิจ วิถีชีวิตของชาวกรุงศรีอยุธยาแทบทั้งสิ้น ขณะที่ความขัดแย้งภายในก็มีส่วนสำคัญที่ส่งผลให้กรุงศรีอยุธยาตกต่ำ

    หนังสือเล่มนี้ได้อธิบายความเป็นกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างรอบด้าน ทุกแง่มุม เสมือนเป็นคัมภีร์เรียนรู้กรุงศรีอยุธยาอย่างเข้าใจง่าย ทั้งด้านประวัติศาสตร์ การเมือง ศิลปกรรม วิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิศาสตร์ พร้อมด้วยภาพประกอบสีทั้งเล่ม ที่สำคัญคือ ภาพจำลองโบราณสถานสำคัญของกรุงศรีอยุธยาในสภาพที่สมบูรณ์ และศรชี้นำชมที่เข้าใจง่าย สวยงามน่าอ่าน

บทที่ 1 เวนิสตะวันออก
บทที่ 2 กำเนิดอยุธยา
บทที่ 3 สังคมเมืองท่านานาชาติ
บทที่ 4 การเมืองของไพร่และชนชั้นนำ
บทที่ 5 ชีวิตในกรุงศรีอยุธยา
บทที่ 6 ศิลปกรรมอยุธยา
บทที่ 7 หลังเสียกรุง
บทส่งท้าย
เชิงอรรถ

เรื่องราวเกี่ยวกับเมืองอยุธยาหรือประวัติศาสตร์อยุธยา เป็นหนึ่งในความสนใจของนักวิชาการ นักเขียนในหลากหลายระดับ ทั้งเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการปรุงแต่ง สร้างสรรค์ผสานกับจินตทัศน์ให้เป็นสื่อที่หลากหลาย ทำให้เนื้อหาของประวัติศาสตร์อยุธยาที่มีกว่า ๔ ศตวรรษ ความสำเร็จของหนังสือเล่มนี้อยู่ที่การการประมวลเนื้อหาที่เป็นมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของอาณาจักรที่ก่อร่างขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และยั่งยื่นมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ได้อย่างครอบคลุม และเป็นภาระของคนที่เกิดหลักจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ถึงกว่า ๒ ศตวรรษ จึงแสดงให้เห็นถึงความอุตสาหะทางวิชาการที่ทุกคนควรยอมรับและยินดีกับการปรากฎตัวขึ้นของหนังสือดีเช่นนี้รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี- คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ละครบุพเพสันนิวาสได้ก่อให้เกิดกระแสความสนใจในประวัติศาสตร์ไทยสูงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งนอกจากความรู้ด้านการเมือง และการต่างประเทศแล้ว ยังมีมุมมองด้านเศรษฐกิจและการเงินที่คนไทยหลายคนนึกไม่ถึง

หลายคนอาจไม่ทราบว่ากรุงศรีอยุธยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น มีฐานะเป็นเมืองท่า และศูนย์กลางการค้าขายนานาชาติของภูมิภาค โดยจากบันทึกของนายโยส เซาเต็น ชาวฮอลันดา ผู้จัดการบริษัทดัชท์อินเดียตะวันออก ได้บันทึกไว้ในจดหมายเหตุโยส เซาเตน เมื่อครั้งเข้ามากรุงศรีอยุธยาในพ.ศ. 2179 (ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระราชบิดาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ไว้ว่า

“พระนครศรีอยุธยานี้จึงเป็นนครที่โอ่อ่า เต็มไปด้วยโบสถ์วิหารซึ่งมีจำนวนมากกว่า ๓๐๐ และก่อสร้างขึ้นอย่างวิจิตรพิสดารที่สุด โบสถ์วิหารเหล่านี้มีปรางค์ เจดีย์และรูปปั้นรูปหล่ออย่างมากมาย ใช้ทองฉาบอยู่ภายนอกสีเหลืองอร่ามทั่วไปหมด เป็นพระมหานครที่สร้างอยู่ข้างฝั่งแม่น้ำ โดยมีผังเมืองวางไว้อย่างเป็นระเบียบ จึงเป็นนครที่สวยงามมาก ตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม มีประชาชนหนาแน่น และเต็มไปด้วยสินค้าสิ่งของจำเป็นแก่ชีวิตนำเข้ามาขายจากนานาประเทศ เท่าที่ข้าพเจ้าทราบ ยังไม่มีพระมหากษัตริย์องค์ใดในแถบนี้ของโลก ที่จะมีเมืองหลวงใหญ่โตมโหฬารวิจิตรพิสดารและสมบูรณ์พูนสุข เหมือนกับพระมหากษัตริย์ ณ ราชอาณาจักรนี้...” (แปลโดย ขจร สุขพานิช)

โดยหากจะให้เทียบกับเมืองในปัจจุบัน กรุงศรีอยุธยาในยุคนั้นก็น่าจะเทียบได้กับประเทศสิงคโปร์ หรือเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านการค้าและการเงินของภูมิภาคเอเซีย ทั้งนี้ วิทยานิพนธ์เรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างคนกลุ่มต่างๆในท่าเรือนานาชาติพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2133 – 2231” โดยนายกรกิต ชุ่มกรานต์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ระบุว่าในปีหนี่ง พระนครศรีอยุธยาจะคลาคล่ำไปด้วยสำเภาจากต่างชาติที่ทยอยกันเข้ามาในแต่ละช่วงเวลา ดังที่คำให้การชาวกรุงเก่าได้บรรยายไว้ว่า “คราคร่ำไปด้วยสำเภาจีน แขกสลุป ฝรั่งกำปั่น แขกสุรัด แขกชวามลายู แขกเทศฝรั่งเศส ฝรั่งโลสงโปรตุเกศ วิลันดา อิศปันยอน อังกฤษ แลฝรั่งดำ ฝรั่งเมืองลังกุนีแขกเกาะ”

มีชุมชนต่างชาติรับพระราชทานที่ปลูกบ้านเรือน เช่น อังกฤษ ฮอลันดา โปรตุเกส ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น จีน อินเดีย อิหร่าน แขกมลายู/ชวา/มะกะสัน อยู่ร่วมกันอย่างสันติ ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจาก สมเด็จพระนารายณ์ “ทรงอนุญาตให้ทุกคนอยู่กินตามถนัด ให้สร้างโบสถ์และปฏิบัติศาสนกิจแบบอย่างในประเทศตนได้อย่างเปิดเผย ขออย่าให้เป็นการทำลายความสงบสุขของแผ่นดินก็แล้วกัน” (นิโกลาส์ แชรแวส ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองของอาณาจักรสยาม)

และเนื่องจากอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้าขายของชาวต่างชาติจึงมีการแต่งงานระหว่างคนต่างชาติด้วยกันเป็นจำนวนมาก โดยจำนวนลูกครึ่ง เฉพาะลูกครึ่งโปรตุเกสนั้นมีมากถึง 2,000 คน การผสมผสานระหว่างคนเชื้อชาติต่างๆส่งผลให้อยุธยายิ่งมีศักยภาพด้านทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านภาษาเพื่อการค้าขายระหว่างประเทศมากขึ้นไปอีก

ยิ่งไปกว่านั้นในสมัยอยุธยาช่วงหนึ่ง ยังเปิดกว้างในการรับคนต่างชาติเข้ามารับใช้ในราชสำนักจำนวนมาก เช่น ยามาดะ นางามาซะ ชาวญี่ปุ่น ตำแหน่งออกญาเสนาภิมุข ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลทางการค้าและการเมืองในระดับสูง (ก่อนรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ประมาณ 30 ปี) เฉกอะหมัด ชาวอิหร่าน ตำแหน่งเจ้าพระยาบวรราชนายก จางวางกรมมหาดไทย ปฐมจุฬาราชมนตรีแห่งกรุงสยาม ต้นสายสกุลบุนนาคในปัจจุบัน และคอนสแตนติน ฟอลคอน ชาวกรีก ตำแหน่ง ออกญาวิไชเยนทร์ ผู้มีอิทธิพลด้านการค้าและการเมืองสูงที่สุดในช่วงปลายรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นต้น

จะเห็นได้ว่ากรุงศรีอยุธยา มิได้เป็นเพียงราชอาณาจักรเก่าเท่านั้น แต่ยังรุ่งเรืองและมีความทันสมัยในการดำเนินนโยบายเป็นอย่างยิ่ง และแม้ว่านโยบายหลายอย่างจะเป็นไปเพื่อถ่วงดุลอำนาจทางการเมืองภายใน และมิได้กระจายผลประโยชน์มาสู่ประชาชนทั่วไปมากนัก แต่ก็ถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญหน้าหนึ่งที่คนไทยควรจะได้รับทราบไว้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita