อาเซียนและสหภาพยุโรปเริ่มต้นความสัมพันธ์

ตลอดระยะเวลามากกว่า 50 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) และได้ก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยเร่งเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันทั้งด้านกายภาพ กฎระเบียบ และระหว่างประชาชน เพื่อทำให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีความเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างแท้จริง

อาเซียนได้ขยายความความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือกับภาคีภายนอก (ASEAN External Relations) เพื่อสนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียนและส่งเสริมให้มหาอำนาจมีปฏิสัมพันธ์กับอาเซียนอย่างสร้างสรรค์ โดยให้ความสำคัญกับการรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN centrality) ในโครงสร้างสถาปัตยกรรมภูมิภาค ภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม (ASEAN PLUS THREE) การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit : EAS) และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการดำเนินความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและภาคีภายนอกอื่น ๆ โดยมีท่าทีหนึ่งเดียวของอาเซียนเพื่อส่งเสริมบทบาทและรักษาผลประโยชน์อาเซียนเป็นสำคัญ

ปัจจุบัน อาเซียนมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ 10 คู่เจรจา (Dialogue Partner) ซึ่งประกอบด้วย 9 ประเทศ คือ อาเซียน – ญี่ปุ่น อาเซียน – ออสเตรเลีย อาเซียน – นิวซีแลนด์ อาเซียน – สหรัฐอเมริกา อาเซียน – แคนาดา อาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี อาเซียน – อินเดีย อาเซียน – จีน อาเซียน – รัสเซีย และ 1 องค์กรระดับภูมิภาค คือ อาเซียน – สหภาพยุโรป (อียู) นอกจากนี้ ตามกฎบัตรอาเซียนข้อ 44 อาเซียนยังมีปฏิสัมพันธ์กับภาคีภายนอกในสถานะอื่นๆ เช่น การเป็นคู่เจรจาเฉพาะสาขา (Sectoral Dialogue Partner) ได้แก่ ปากีสถาน นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ และตุรกี และการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) คือ เยอรมนี และยังมีปาปัวนิวกินีเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์พิเศษ (Special Observer) ของอาเซียนอีกด้วย

ความสัมพันธ์และความร่วมมือกับภาคีภายนอกเหล่านี้ นอกจากจะช่วยเสริมสร้างสันติภาพและส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแล้ว ยังมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาท้าทายร่วมกัน ทั้งปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนผ่านความร่วมมือด้านการศึกษา สาธารณสุข และการพัฒนาที่ยั่งยืน

สหภาพยุโรป (European Union: EU) และสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations: ASEAN) ถือเป็นสหภาพเหนือชาติ (Supranational Union) ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเมืองโลกในปัจจุบันเป็นอย่างมาก

ในขณะที่สหภาพยุโรปกำลังรับบทบาทตัวละครสำคัญในการเมืองโลกตะวันตก โดยเฉพาะเรื่องสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน และการจัดการกับเศรษฐกิจในภูมิภาคยุโรป อาเซียนเองก็เริ่มเป็นที่สนใจในเวทีโลก ในฐานะตัวแปรสำคัญของเกมการเมืองระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาในทวีปเอเชีย

ด้วยเหตุนี้ ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 สหภาพเหนือชาติดังกล่าว จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะมันอาจช่วยให้เราทำความเข้าใจสภาพการเมืองโลกในปัจจุบัน และอนาคตได้ดียิ่งขึ้น

งานเสวนา ASEAN-EU Relations in light of the War in Ukraine ที่มูลนิธิฟรีดริช เนามัน เพื่อเสรีภาพ (Friedrich Naumann Foundation for Freedom) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรจากประเทศเยอรมนี มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมแนวคิดประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และหลักนิติรัฐ ในสังคมของประเทศต่างๆ ทั่วโลก และสถาบัน Asia Centre ร่วมมือกันจัดขึ้น เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรม เรดิสันบลู พลาซ่า กรุงเทพ (Radisson Blu Plaza Bangkok) พูดถึงหัวข้อดังกล่าวอย่างลึกซึ้ง ทั้งในมุมผลกระทบจากสงครามยูเครน ไปจนถึงความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และอนาคตของความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับยุโรป

เกออร์ก ชมิดท์ (Georg Schmidt) เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำประเทศไทย กล่าวว่า เยอรมนีและสหภาพยุโรปกำลังกลับมาให้ความสนใจกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ พร้อมทั้งระบุว่า รัฐบาลเยอรมันมีความประสงค์ที่จะสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับทั้งรัฐบาลและประชาชนไทย

นอกจากนี้ ชมิดท์ให้ความเห็นเรื่องสงครามในยูเครน โดยอธิบายว่าเป็นสงครามที่ต่างจากสงครามอื่นๆ ในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลสองประการ ข้อแรก คือสงครามครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อยึดดินแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ประชาคมโลกต้องต่อต้านการรุกรานครั้งนี้อย่างถึงที่สุด มิเช่นนั้น สันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ อาจถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง และข้อสอง สงครามครั้งนี้ เป็นหนึ่งในไม่กี่สงครามที่มีการใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อข่มขู่ประเทศคู่สงครามและประเทศอื่นๆ 

โดยท่านทูตชี้ว่า การกระทำดังกล่าวลดความ ‘ศักดิ์สิทธิ์’ ของอาวุธนิวเคลียร์ เพราะทำให้ประชาคมโลกเชื่อว่า อาวุธนิวเคลียร์ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการทูตได้ และอาจส่งผลให้ประเทศต่างๆ หันมาสะสมอาวุธนิวเคลียร์ เพื่ออิทธิพลทางการทูตและความมั่นคงของตน

เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำประเทศไทยปิดท้ายว่า สงครามในยูเครนดึงทรัพยากรและความสนใจ ขององค์กรทางการทูตที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ไทย-เยอรมันไปหมด ทำให้ตอนนี้ เยอรมันไม่สามารถเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับไทยและอาเซียน ได้มากเท่าที่ควร

ขณะที่ เฟลิกซ์ ไฮดุค (Felix Heiduk) หัวหน้าฝ่ายภูมิภาคเอเชีย แห่ง Stiftung Wissenschaft und Politik (German Institute for International and Security Affairs: SWP) กล่าวว่า สงครามยูเครนไม่ได้มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปกับอาเซียนมากนัก เนื่องจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ห่างกัน ศักยภาพที่มีจำกัดของทั้งสองฝ่าย และวิสัยทัศน์ที่ไม่ชัดเจน ทำให้สหภาพยุโรปกับอาเซียนไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งมาตั้งแต่ต้น อย่างไรก็ดี ไฮดุคระบุว่า สหภาพยุโรปกับอาเซียนสามารถเข้ากันได้อย่างแน่นอน เพราะทั้งสองสหภาพมีความสนใจในเรื่องที่คล้ายกัน เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจ การจัดการกับภัยจากตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actor) และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย

ด้าน กิตติ ประเสริฐสุข อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พูดถึงจุดยืนของอาเซียนในการเมืองโลก โดยชี้ให้เห็นว่า การที่ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของโลก ช่วยให้เงินลงทุนและการค้าขายไหลเข้ามาสู่ประเทศในอาเซียนอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกัน ความเป็นจุดยุทธศาสตร์นี้ยังทำให้ประเทศในอาเซียนต้องตกที่นั่งลำบาก เมื่อการเมืองโลกในปัจจุบัน กำลังแบ่งออกเป็น 2 ขั้วอย่างชัดเจน

ขณะเดียวกัน กิตติระบุว่า อาเซียนมี 3 เป้าหมายหลัก คือต่อต้านการแข่งขันในภูมิภาค ส่งเสริมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และพัฒนาความร่วมมือที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ

สำหรับกรณีของประเทศไทย กิตติแนะว่าไทยควร ‘ร่ายรำกับอาเซียน’ (Dancing With ASEAN) แปลว่า ควรมีความกระตือรือร้นเรื่องการทูตกับประเทศอาเซียนมากกว่านี้ กิตติปิดท้ายว่า อยากเห็นสหภาพยุโรปเป็นมหาอำนาจที่ 3 ของโลก นอกเหนือจากสหรัฐฯ และจีน

ขณะที่ เอทีนา สเตฟาเนีย เฟรารู (Atena Stefania Feraru) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Weak States, Vulnerable Governments, and Regional Cooperation กล่าวว่า ความต่างกันเรื่องโครงสร้างองค์กรระหว่างประเทศ และค่านิยมร่วมเป็นอุปสรรคสำคัญ ที่บั่นทอนความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปกับอาเซียน นโยบายทางการทูตที่สหภาพยุโรปใช้กับอาเซียนควรถูกปรับเปลี่ยนใหม่ โดยชี้ว่าทั้ง 2 องค์กรต้องทำความเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ ระหว่างอำนาจอธิปไตย (Sovereignty) กับสิทธิการใช้อำนาจอธิปไตยของผู้นำ (Sovereign Power) ของกลุ่มประเทศอาเซียน ในการออกนโยบายการต่างประเทศ

ส่วน โรบิน โฮนิก (Robin Hoenig) หัวหน้าฝ่ายเอเชีย/อาเซียน แห่ง Trade Policy Competence Center ระบุว่า การค้าระหว่างชาติในสหภาพยุโรปกับอาเซียนเกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้ว แต่ส่วนมาก มักเกิดในรูปแบบประเทศต่อประเทศ ไม่ใช่สหภาพต่อสหภาพ ตัวอย่างเช่น เวียดนามและสิงคโปร์มีสัญญาการค้าพิเศษกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอย่างที่ชาติอาเซียนอื่นๆ ไม่มี โฮนิกจึงแนะว่า สหภาพยุโรปและอาเซียน ควรใช้สัญญาที่เวียดนามและสิงคโปร์มีเป็นรากฐานสำหรับการสร้างสัญญาการค้าระหว่างสหภาพ โดยเฉพาะกับเรื่องการเปิดเขตการค้าเสรีระหว่าง 2 ภูมิภาค ในอนาคต

ด้าน ทริเซีย โย (Tricia Yeoh) ผู้บริหารสูงสุดแห่ง Institute for Democracy and Economic Affairs (IDEAS) วิเคราะห์ว่า 3 สาเหตุสำคัญที่ทำให้อาเซียนไม่สามารถเจรจาการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือการขาดความสามารถในการเจรจา การที่ชาติสมาชิกไม่มีจุดยืนร่วมกันชัดเจน และการที่ผู้ออกนโยบายไร้ซึ่งเจตจำนงทางการเมือง (Political Will)

โยยกตัวอย่างเรื่องปัญหาน้ำมันปาล์ม ที่เกิดขึ้นระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย กับสหภาพยุโรป เพื่อชี้ให้เห็นถึงความไม่พร้อมของประเทศอาเซียนในการทำสัญญาการค้ากับองค์กรที่มีระเบียบแบบแผนชัดเจน เพราะในกรณีของปัญหาน้ำมันปาล์ม อินโดนีเซียและมาเลเซียเลือกที่จะไม่ทำตามระเบียบข้อบังคับด้านการผลิตของสหภาพยุโรป เนื่องจากเชื่อว่ากฎเกณฑ์ดังกล่าวจะลดกำไรของผู้ผลิต ทั้งที่จริงๆ แล้ว การทำตามข้อบังคับ และเปิดการค้ากับยุโรป จะเป็นการเพิ่มกำไรให้กับผู้ผลิต

ขณะที่ ทอม คาเชต (Tom Cachet) ประธานฝ่ายการจัดการห่วงโซ่อุปทาน บริษัท Thai European Business Association (TEBA) ระบุว่า สหภาพยุโรปและอาเซียนต่างเป็นคู่ค้าที่สำคัญของกันและกัน โดยชาติอาเซียนพยายามแข่งขันกัน เพื่อดึงกระแสการค้าและการลงทุนเข้าสู่ประเทศตัวเอง อย่างไรก็ตาม ความสามารถด้านการเจรจาของอาเซียนยังอยู่ในระดับที่ต่ำ เมื่อเทียบกับสหภาพยุโรป โดยอาเซียนสามารถสร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกแค่ในเรื่องการลดกำแพงภาษีเท่านั้น

ส่วน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก่อนจะพูดถึงอนาคตของความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปกับอาเซียน ต้องเข้าใจถึงความแตกต่างของทั้งคู่ก่อน โดยอภิสิทธิ์อธิบายว่า สหภาพยุโรปและอาเซียนกำลังยึดในบรรทัดฐานที่ต่างกัน ในขณะที่ สหภาพยุโรปให้ความสำคัญกับค่านิยม (Value-Based) ระดับที่ว่า ประเทศที่ไม่รับค่านิยมของสหภาพยุโรปเรื่องประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และการค้าเสรี จะไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพได้ ส่วนอาเซียนกลับให้ความสำคัญกับเรื่องผลประโยชน์ (Benefit-Based) เป็นหลัก และไม่คำนึงว่าประเทศสมาชิกจะมีชื่อเสียงในทางที่ไม่ดีอย่างไร

ด้วยเหตุนี้ อภิสิทธิ์จึงระบุว่า ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนระหว่างสหภาพยุโรปกับอาเซียนจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทั้งสองเริ่มร่วมมือกันในเรื่องเล็กๆ ที่ทั้งคู่มีความเห็นตรงกัน เพื่อสร้างความไว้วางใจ ก่อนจะค่อยๆ พัฒนาความร่วมมือไปในเรื่องที่หนักขึ้น มิเช่นนั้น ความแตกต่างในเรื่องบรรทัดฐานจะสร้างความแตกแยก และความไม่พอใจในกันและกันโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ อภิสิทธิ์ยังชี้ว่าความสัมพันธ์ที่ดีควรมีความยืดหยุ่นและเฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นแบบทวิภาคี (Bilateralism) หรือแบบที่เป็นการสร้างความสัมพันธ์แบบจำกัดตัวแสดง ซึ่งให้ความสำคัญกับประเทศหรือองค์กร ที่มีเป้าหมายใกล้เคียงกับประเทศต้นทางเป็นพิเศษ (Minilateralism) เพื่อสร้างพื้นที่และความสบายใจให้กับทุกฝ่าย ทั้งนี้ อภิสิทธิ์สรุปว่าความร่วมมือเกิดขึ้นได้ ถ้าทั้งสองเข้าหากันด้วยทัศนคติที่ถูกต้อง

ก่อนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอนาคต โจนาธาน เฮด (Jonathan Head) ผู้สื่อข่าว BBC ท้าวความว่า ทั้งสหภาพยุโรปและอาเซียนเป็นผลผลิตของยุคสงครามเย็น ซึ่งแม้ว่าจะมีที่มาคล้ายกัน แต่ระเบียบองค์กรทั้งสองกลับมีความแตกต่างกันอย่างมาก เฮดอธิบายว่า อาเซียนไม่มีกฎความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกที่ชัดเจนเหมือนอย่างสหภาพยุโรปมี ทำให้อาเซียนไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคปัจจุบัน ทำให้เต็มไปด้วยความขัดแย้ง และความหลากหลายทางความคิด

ด้วยเหตุนี้ เฮดเตือนว่าโลกตะวันตกควรเข้าหาอาเซียนอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงความจริงที่ว่า จีนเป็นหนึ่งในชาติที่ทรงอิทธิพลที่สุดในเอเชีย ขณะที่ ความสามารถของสหภาพยุโรปและอาเซียนในการจัดการกับอิทธิพลดังกล่าวนั้นมีอยู่อย่างจำกัด พร้อมแนะว่าทั้ง 2 องค์กรควรตั้งวิสัยทัศน์ และวางแผนนโยบายทางการทูตของตนตามหลักความเป็นจริง สอดคล้องกับขีดจำกัด ไม่ใช่หลักค่านิยม หรือแนวคิดที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita