การ บันทึก ไฟล์ แบบ ใด ที่ สามารถ แก้ไข ภาพ ได้

ในคนทั่วไปส่วนใหญ่อาจจะคุ้นหูและคุ้นเคยเพียงแค่ไฟล์ภาพ JPEG เท่านั้น แต่จริงๆ เเล้วนั้นยังมีรูปแบบของไฟล์อีกหลายประเภท ที่มีจุดเด่นแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของการใช้งาน บทความนี้เราจะพาไปรู้จักกับไฟล์ภาพชนิดต่างๆ กันค่ะ

1. JPEG

มาเริ่มต้นด้วยไฟล์ภาพที่น่าจะมีคนรู้จักมากที่สุดกันค่ะ เป็นไฟล์ที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะมีความสะดวกสบายเนื่องจากเป็นไฟล์ที่มาจากกล้องโดยตรง เเละเราสามารถนำภาพไปใช้ต่อได้เลย เช่น อัปโหลดใน social media ต่างๆ

จุดเด่น – ไฟล์ภาพเป็นที่นิยม มีการรองรับเกือบทุกโปรแกรม เเละใช้พื้นที่จัดเก็บน้อยค่ะ

จุดด้อย – เนื่องจากขนาดไฟล์จำกัด ทำให้ไม่สามารถแก้ไขรูปได้เท่าที่ใจต้องการ เพราะรูปจะเกิดความไม่ชัดหรือภาพเเตกได้ค่ะ

2. TIFF

เป็นไฟล์ที่มีคุณภาพสูงส่วนใหญ่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการพิมพ์งานต่างๆ ที่ต้องอาศัยความคมชัดหรือความละเอียดมากๆ 

จุดเด่น – ไฟล์มีคุณภาพมาก สามารถรองรับการใช้งานผ่านโปรแกรมได้เกือบหมด เเละทำพื้นหลังให้โปร่งใสได้ด้วย

จุดด้อย – ไฟล์มีขนาดใหญ่ ใช้พื้นที่จัดเก็บเยอะมาก

3. PNG

เป็นรูปแบบไฟล์ที่นิยมใช้งานบนเว็บไซต์มากที่สุด ไม่เหมาะกับงานพิมพ์ เพราะไฟล์ PNG ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานแทนไฟล์ GIF

จุดเด่น – สามารถบันทึกภาพพื้นหลังแบบโปร่งใสได้ ทำให้ง่ายต่อการใช้งานเเละรองรับสีได้มากกว่าไฟล์ GIF 

จุดด้อย – ไม่เหมาะกับการพิมพ์

4. GIF

เป็นไฟล์ที่เน้นใช้ทำภาพเคลื่อนไหว มักจะถูกใช้ใน social media และแบนเนอร์เว็บไซต์มากกว่า

จุดเด่น – ขนาดไฟล์เล็กมาก ทำให้โหลดได้รวดเร็ว เเละสามารถทำพื้นหลังแบบโปร่งใสได้

จุดด้อย – มีความจำกัดเรื่องสีของภาพเเละไม่รองรับ CMYK

5. PSD

เป็นไฟล์ที่มาจากโปรแกรม Photoshop สามารถแก้ไขไฟล์ได้อย่างยืดหยุ่น ใช้กับงานพิมพ์ได้

จุดเด่น –  ปรับแต่งไฟล์ได้อย่างอิสระสามารถใช้ทำงานได้ทั้ง Vector เเละ Raster รองรับพื้นหลังโปร่งใสได้ด้วย

จุดด้อย – เหมาะสำหรับงานที่มีขนาดใหญ่เนื่องจากมีความละเอียดสูง การใช้งานอาจจะซับซ้อนเกินไปสำหรับบางคน

6. RAW

เป็นไฟล์ที่นิยมใช้ในหมู่ช่างถ่ายภาพ เพราะไฟล์สกุลนี้สามารถแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การปรับสี

จุดเด่น – ตอบโจทย์ในการแก้ไขรูปภาพมากๆ ปรับเเต่งได้อย่างอิสระ

จุดด้อย – บางโปรแกรมไม่รองรับไฟล์ชนิดนี้ เลยทำให้มีข้อจำกัดต้องแปลงไฟล์ก่อนใช้งาน

7. EPS

เป็นไฟล์รูปแบบหนึ่งของ Vector มักจะถูกใช้กับพวก Logo หรือ Icon เป็นหลัก

จุดเด่น :  สามารถใช้ได้ทุกขนาดไม่ว่าจะเล็ก กลาง ใหญ่ โปรแกรมส่วนใหญ่รองรับ

จุดด้อย : โปรแกรมที่สามารถแก้ไขไฟล์นี้ได้ค่อนข้างจำกัด เช่น Illustrator

8. SVG

เป็นไฟล์รูปที่เหมาะกับการทำเว็บไซต์พวก Responsive โดยเฉพาะ

จุดเด่น :  สามารถใช้งานเป็น Vector เเละ Raster ก็ได้ เเละสามารถปรับขนาดได้โดยไม่เสียความคุณภาพของไฟล์เลย นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มไปยัง HTML ได้โดยตรง

จุดด้อย : ไม่เหมาะกับงานภาพที่มีความลึกสีสูงๆ เช่น งานพิมพ์

9. PDF

เป็นไฟล์ที่นิยมใช้กับงานเอกสาร สามารถรองรับไฟล์ภาพขนาดใหญ่ได้

จุดเด่น : สามารถแสดงผลได้ทั้ง Vector เเละ Raster  และรองรับโปรแกรมได้หลากหลาย 

จุดด้อย : แก้ไขงานได้ยาก มีข้อจำกัดเยอะ

10. BMP

ในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้งานแล้ว เพราะจำกัดการใช้งานเฉพาะ Windows OS เท่านั้น

จุดเด่น : คุณภาพสูงมาก เพราะว่าไม่มีการบีบอัดเลย

จุดด้อย : ไฟล์ใหญ่ เเละไม่รองรับงาน CMYK ทำให้ไม่เหมาะกับงานพิมพ์

ที่มา : creativebloq.com

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita