อาการอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ

ปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยสมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ดูแลต้องรับหน้าที่หนักหลายด้าน หลายครอบครัวที่มีผู้สูงอายุในบ้านอาจมีความกังวลเรื่องภาวะสมองเสื่อม การสังเกตอาการผิดปกติและปรึกษาแพทย์ตั้งแต่ระยะแรกอาจทำให้วินิจฉัยโรคได้เร็วขึ้น

สมองเสื่อมคืออะไร?

สมองเสื่อม เป็นภาวะที่ความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจำไม่ได้ เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ ทำให้ผู้ที่เป็นมีอาการหลงลืม การใช้ภาษาผิดปกติ และพฤติกรรมรวมถึงอารมณ์เปลี่ยนไป

สมองเสื่อมเกิดขึ้นได้อย่างไร?

เกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งที่แก้ไขได้และไม่ได้  เช่น โรคอัลไซเมอร์  โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน ขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เนื้องอกสมอง โพรงน้ำในสมองขยายตัว ขาดวิตามิน หรือจากโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น ซิฟิลิส และเอดส์ เป็นต้น แต่โรคอัลไซเมอร์ เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด โดยเฉลี่ยผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะอยู่ได้นาน 8 - 10 ปี

สมองเสื่อมกับอาการเริ่มแรก

อาการเริ่มแรก มักเป็นการลืมเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ๆ ไม่นาน ในขณะที่ความจำเรื่องเก่าๆ ในอดีตจะยังดีอยู่ ผู้ป่วยอาจถามซ้ำเรื่องที่เพิ่งบอกไป หรือพูดซ้ำเรื่องที่เพิ่งเล่าให้ฟัง นอกจากนั้นยังอาจมีอาการอื่นๆ เช่น วางของแล้วลืม ทำอะไรที่เคยทำประจำไม่ได้ สับสนเรื่องวัน เวลา สถานที่ หลงทิศทาง นึกคำพูดไม่ค่อยออก หรือใช้คำผิดๆ แทน

มีอารมณ์ พฤติกรรม และบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การตัดสินใจแย่ลง ไม่สามารถมีความคิดริเริ่มใหม่ๆ ได้  ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้จะค่อยเริ่มเปลี่ยนแปลง จนทำให้เกิดปัญหาต่อการทำงานและกิจวัตรประจำวัน ซึ่งการที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับระดับความสามารถเดิม การศึกษา และหน้าที่เดิมของผู้ป่วย รวมถึงความช่างสังเกตและเอาใจใส่ของญาติด้วย

สาเหตุของสมองเสื่อม

สาเหตุที่ชัดเจนนั้นยังไม่แน่ชัด ทราบเพียงว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมอง จนทำให้สมองทำหน้าที่ลดลงและเหี่ยวลงไป สมองเสื่อมไม่ได้เป็นโรคติดต่อ แต่อาจมีการถ่ายทอดในครอบครัวทางกรรมพันธุ์ได้ในผู้ป่วยส่วนน้อย ส่วนใหญ่จะไม่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ อายุที่มากขึ้น โดยจะพบมากขึ้นสองเท่าทุก 5 ปี และเนื่องจากปัจจุบันนี้คนเราอายุยืนขึ้น โรคนี้จึงพบได้มากขึ้นเรื่อยๆ และจะเป็นปัญหาที่สำคัญของทุกประเทศ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การวินิจฉัยโรคนี้ให้ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเพื่อชะลอการดำเนินโรค ซึ่งในปัจจุบันนี้มีการศึกษาถึงวิธีต่างๆ ในการป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ แต่ยังไม่ได้ผลชัดเจน

การวินิจฉัยสมองเสื่อม

เมื่อมาพบแพทย์และสงสัยว่าจะมีภาวะสมองเสื่อม แพทย์จะดำเนินการตรวจวินิจฉัยโรค ดังนี้

  1. ซักประวัติและตรวจร่างกาย เพื่อต้องการทราบรายละเอียดของอาการผู้ป่วย โดยทั่วไปผู้ป่วยมักให้ประวัติไม่ได้ เนื่องจากอาการหลงลืม จึงควรมีญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่อยู่กับผู้ป่วยมานาน และทราบรายละเอียดอย่างดีมาร่วมในการซักประวัติด้วย
  2. ตรวจเบื้องต้นว่ามีอาการซึมเศร้าหรือไม่
  3. ทดสอบความจำ
  4. ตรวจเลือด เพื่อหาสาเหตุอื่นที่อาจทำให้ความจำไม่ดี เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง เกลือแร่ผิดปกติ การขาดสารอาหารบางอย่าง และโรคซิฟิลิส เป็นต้น
  5. อาจตรวจเอกซเรย์สมอง อาจเป็นเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

การรักษาภาวะสมองเสื่อม

การรักษาภาวะสมองเสื่อมขึ้นอยู่กับสาเหตุ สำหรับโรคอัลไซเมอร์ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาด แต่ยาบางตัวอาจช่วยลดอาการของผู้ป่วยได้ โดยทั่วไปแบ่งการรักษาออกเป็น

  1. รักษาสาเหตุที่ตรวจพบ เช่น ถ้าเกิดจากเนื้องอกหรือโพรงน้ำในสมองขยายตัว อาจต้องผ่าตัดสมอง  ถ้าเกิดจากขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ก็รับประทานยาทดแทน เป็นต้น
  2. รักษาเรื่องความจำเสื่อม ยากลุ่ม cholinesterase inhibitors สามารถชะลออาการของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมบางชนิดได้ ซึ่งจะได้ผลดีเมื่อให้ในผู้ป่วยที่มีอาการระยะแรกๆ แต่ยานี้ไม่ได้ทำให้โรคนี้หายขาด เพียงชะลอการดำเนินโรคไม่ให้เปลี่ยนแปลงเร็ว  
  3. รักษาปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมจากโรค ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มักมีปัญหาเรื่องพฤติกรรมต่างๆ ด้วย เช่น เอะอะโวยวาย เห็นภาพหลอน ไม่ร่วมมือกับญาติในการดูแล เป็นต้น การแก้ไขปัญหานี้ต้องใช้การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูแล ในบางรายที่ไม่ได้ผลอาจต้องใช้ยาเพื่อลดอาการ
  4. ผู้ดูแลผู้ป่วย เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมีผลต่อสุขภาพกายและใจของผู้ดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ยิ่งผู้ดูแลเป็นบุตรหลานหรือญาติด้วยแล้ว จะยิ่งเกิดความเครียด รู้สึกห่อเหี่ยวและทุกข์ใจมากกว่าผู้ดูแลทั่วไป ฉะนั้นหากผู้ดูแลเหล่านี้ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรค การดูแลตลอดจนแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีช่วงพักเพื่อคลายเครียดให้กับตนเอง ซึ่งอาจพบปะพูดคุยกับผู้อื่น หรือโทรศัพท์ขอคำแนะนำจากทีมแพทย์และพยาบาล และตรวจสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่องแล้ว ก็จะช่วยให้ผู้ดูแลลดความเครียดและความทุกข์ลงได้มาก

วิธีป้องกันโรคสมองเสื่อม

ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการป้องกันโรคสมองเสื่อมนี้ อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตัวบางอย่างอาจช่วยให้สมองมีความจำที่ดีได้ 

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) หรือที่เรียกกันว่า โรคความจำเสื่อม หรือโรคสมองเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างของเซลล์สมอง ทำให้เซลล์สมองฝ่อและเสียการทำงานไป ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะสมองเสื่อม พบได้บ่อยในผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป  ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะแสดงอาการออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่

  1. มีความผิดปกติด้านความทรงจำและทักษะต่าง ๆ ที่เคยทำได้ เช่น ลืมชื่อ ลืมวันเวลา ลืมสถานที่ ลืมสิ่งทำไปแล้ว พูดประโยคเดิมซ้ำ ๆ ทักษะความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง เช่น ทักษะการขับรถผิดปกติ สับสนทิศทาง เป็นต้น

  2. มีอารมณ์และพฤติกรรมผิดปกติไป เช่น ขี้โมโห ก้าวร้าว มีพฤติกรรมขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดความคิดผิดชอบชั่วดี มีพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ หรือมีพฤติกรรมการนอนผิดปกติไป เป็นต้น

  3. ไม่สามารถทำกิจวัตรในชีวิตประจำวันได้ เช่น ลืมวิธีการอาบน้ำ การแต่งตัว หรือกิจวัตรที่เคยทำได้ ซึ่งในที่สุดอาจจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และจำเป็นต้องได้รับการดูแลตลอดเวลา เป็นต้น

ในระยะที่อาการรุนแรงผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจำและทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน รวมไปถึงกิจกรรมง่าย ๆ ที่คนปกติทำได้ เช่น การล้างจาน ถูบ้าน ซักผ้า หรือแค่การเดินไปหยิบของ

นอกจากนี้ผู้ป่วยจะมีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ ทำให้ขี้โมโห โกรธแบบไม่มีเหตุผล คิดว่าคนอื่นจะมาทำร้าย หรือทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะไม่ควรต่าง ๆ และผลจากการเสื่อมของเซลล์สมองจะทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหว จนทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีคนดูแลช่วยเหลือตลอดเวลา

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่รักษาไม่หายและผู้ป่วยจะมีอาการต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจมีรายละเอียดแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย 

ดังนั้น การรับมือกับโรคทั้งของผู้ป่วยเอง และคนดูแลจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างหนัก ผู้ดูแลต้องมีความเข้าใจว่าสิ่งที่ผู้ป่วยเป็นหรือพฤติกรรมแปลก ๆ นั้นไม่ได้เกิดจากความตั้งใจของผู้ป่วย ผู้ป่วยไม่มีสติสัมปชัญญะในการทำพฤติกรรมที่ผิดปกตินั้น ๆ และเป็นอาการของโรคอัลไซเมอร์

และเนื่องจากเป็นโรคที่รักษาไม่หาย การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์จึงเน้นไปที่การรักษาอาการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ให้ผู้ป่วยยังพอช่วยเหลือตัวเองได้ ควบคุมให้การดำเนินโรคให้เป็นไปอย่างช้าที่สุด ญาติ และผู้ดูแลต้องมีความเข้าใจ พร้อมทั้งหาวิธีการรับมืออย่างเหมาะสม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและสภาพจิตใจของผู้ดูแลด้วย

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

บทความล่าสุด

ตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อรู้ทันมะเร็งเต้านม

อ่านเพิ่มเติม

High altitude illness หรือภาวะแพ้ที่สูง ที่นักปีนเขาต้องระวัง !

อ่านเพิ่มเติม

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คนที่เป็นอัลไซเมอร์อยู่ได้นานแค่ไหน

นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อร่างกายคือภูมิคุ้มกันต่ำลง จนทำให้เกิดโรคได้ร้อยแปด และเมื่อเป็นแล้วก็จะหายยาก ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อคุณหมอได้วินิจฉัยแล้วว่าเป็นผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยอาจมีอยู่ได้ต่อไม่เกิน 10 ปี

คนแบบไหนเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์

สำหรับอีกรายงานได้ยืนยันว่า การพักอาศัยในบริเวณที่มีมลภาวะสูงจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์สูงด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ผู้หญิงสูงวัยที่ใช้สมองอยู่เสมอ มีศักยภาพการทำงานสูง (วัดจากคะแนนการทำงานของสมอง ระยะเวลาที่เรียนหนังสือ หน้าที่การงาน และกิจกรรมทางกายภาพ) มีความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นเพียง 21% ต่าง ...

โรคอัลไซเมอร์เป็นยังไง

อัลไซเมอร์ เป็นหนึ่งในโรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อของสมองซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ โดยไม่ใช่ความเสื่อมตามธรรมชาติเพราะผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องเป็นอัลไซเมอร์ทุกคน แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (beta-amyloid) ชนิดไม่ละลายน้ำซึ่งเมื่อไปจับกับเซลล์สมองจะ ...

โรคอัลไซเมอร์ รักษายังไง

การรักษาภาวะสมองเสื่อมขึ้นอยู่กับสาเหตุ สำหรับโรคอัลไซเมอร์ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาด แต่ยาบางตัวอาจช่วยลดอาการของผู้ป่วยได้ โดยทั่วไปแบ่งการรักษาออกเป็น รักษาสาเหตุที่ตรวจพบ เช่น ถ้าเกิดจากเนื้องอกหรือโพรงน้ำในสมองขยายตัว อาจต้องผ่าตัดสมอง ถ้าเกิดจากขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ก็รับประทานยาทดแทน เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita