สินค้าเกษตร ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551

พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
กับการยกระดับสินค้าเกษตรไทย

ประจำเดือนกรกฎาคม 2565

ทำไมต้องมีมาตรฐานสินค้าเกษตร ??

   ♦ สร้างกลไกสำคัญในการพัฒนา เพิ่มความสามารถการเเข่งขัน เพื่อยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรไทยให้มีคุณภาพเเละได้มาตรฐานทั้งสินค้าเกษตรด้านพืช ปศุสัตว์ เเละประมง

   ♦ ปกป้องผลประโยชน์ ในการส่งออกสินค้าเกษตรเเละอาหารในเวทีการค้าโลก

   ♦ เป็นเครื่องมือควบคุมมาตรฐานสินค้าเกษตร เเละกิจกรรมต่อเนื่องที่ไม่มีกฎหมายอื่นใช้บังคับตั้งเเต่ระดับฟาร์ม การเเปรรูป การขนส่ง เเละการจำหน่ายให้กับผู้บริโภค ซึ่งช่วยให้ประเทศผู้นำเข้าเชื่อมั่นในมาตรฐานสินค้าเกษตรเเละอาหารของไทยมากยิ่งขึ้น

   ♦ สร้างความน่าเชื่อถือ ระหว่างผู้ผลิต-ผู้ค้า-ผู้บริโภค

   ♦ สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ

   ♦ คุ้มครองผู้ผู้บริโภค  จากสินค้าเกษตรที่ไม่ได้คุณภาพหรือไม่ปลอดภัย

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551

     มาตรฐานสินค้าเกษตร คือ ข้อกำหนดทางวิชาการหรือเกณฑ์ทั่วไปที่กำหนดขึ้นเกี่ยวกับผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์อันเกิดจากการกสิกรรม การประมง การปศุสัตว์ หรือการป่าไม้ เเละผลพลอยได้ของผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยการกำหนดเเละผ่านการยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเป็นเเนวทางหรือหลักเกณฑ์ที่ใช้กันทั่วไป

    1. คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร 

        ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐเเละภาคเอกชน เเละผู้ทรงคุณวุฒิผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย เเผนงาน เเละมาตรการเกี่ยวกับการส่งเสริมเเละดำเนินการมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตร

     2. การกำหนดมาตรฐาน 

        เเบ่งเป็น 2 ประเภท คือ มาตรฐานบังคับ เเละ มาตรฐานทั่วไป

    ♦ มาตรฐานบังคับ มีกฏกระทรวงกำหนดให้สินค้าเกษตรต้องเป็นไปตามมาตรฐานปัจจุบัน มีมาตรฐานบังคับเเล้ว จำนวน 7 เรื่อง ได้เเก่

     1. มกษ. 1004-2557 หลักปฎิบัติสำหรับกระบวนการรมผลไม้สดด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซต์

     2. มกษ. 4702-2557 เมล็ดถั่วลิสง : ข้อกำหนดปริมาณอะฟลาทอกซิน

     3. มกษ. 7432-2558 การปฎิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มผลิตลูกกุ้งขาวเเวนนาไมปลอดโรค

     4. มกษ. 9046-2560 การปฎิบัติที่ดีสำหรับการผลิตทุเรียนเเช่เยือกเเข็งเพื่อการส่งออก

     5. มกษ. 6401-2558 การปฎิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ

     6. มกษ. 2507-2559 หลักปฎิบัติสำหรับการผลิตเชื้อเห็ด

     7. มกษ. 6909-2562 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่

  ♦ มาตรฐานทั่วไปมีประกาศกำหนดเพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้ตามมาตรฐานปัจจุบัน มีการกำหนดมาตรฐานทั่วไปเเล้ว เเบ่งได้ดังนี้

    3. ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้า สินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ 

        ในกรณีที่มีกฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานบังคับสำหรับสินค้าเกษตรใด ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้า จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต จาก มกอช. หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่ได้รับมอบหมาย

     4. การตรวจสอบเเละรับรองมาตรฐาน 

        • กรณีที่สินค้าเกษตรใดเป็นมาตรฐานบังคับ ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้า จะต้องขอรับการตรวจรับรองจากผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน (หน่วยตรวจสอบรับรองของรัฐ/เอกชน)

        • กรณีสินค้าเกษตรตามมาตรฐานทั่วไป ผู้ผลิตจะขอรับการตรวจสอบรับรองหรือไม่ก็ได้ตามความสมัครใจ

    5. การประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน 

        หน่วยตรวจสอบรับรองภาคเอกชนที่มีความสามารถ มีการจัดองค์กรให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลเเละประสงค์จะทำหน้าที่ตรวจสอบรับรองตามมตรฐานสินค้าเกษตร จะต้องขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน

    6. การควบคุม 

        กฎหมายได้สร้างกลไกการควบคุมผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรทั้งระบบ เช่น ผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน ผู้ผลิต ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า ผู้จำหน่าย รวมถึงผู้ขนส่งสินค้าเกษตรทำให้เชื่อมั่นได้ว่าสินค้าเกษตรมีความปลอดภัย ได้มาตรฐาน ผ่านการตรวจสอบรับรองกลไกที่สำคัญ ได้เเก่

        • การตรวจสอบสถานที่ผลิต สถานที่เก็บสินค้าเกษตร หรือยานพาหนะของผู้ผลิต ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า ผู้จำหน่าย หรือผู้มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย รวมถึงห้องปฎิบัติการของผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน

        • การสุ่มตัวอย่างสินค้าเกษตรเพื่อตรวจสอบ การยึดเเละอายัดสินค้าที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน

        • การพักใช้เเละเพิกถอนใบอนุญาต

    7. เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน 

        สินค้าเกษตรที่ผ่านการตรวจสอบรับรองเเล้วจะต้องเเสดงเครื่องหมายรับรองตามที่กฏหมายกำหนด โดยเครื่องหมายรับรองมาตรฐานเเบ่งออกเป็น

          1. เครื่องหมายรับรองมาตรฐานบังคับ

          2. เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไป

          3. เครื่องหมายรับรองมาตรฐานอินทรีย์

    8. การอุทธรณ์ 

        ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้า หรือผู้ประกอบการตรวจสอบรับรองมาตรฐาน มีสิทธิอุทธรณ์ คำสั่งสำนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ต่อคณะกรรมการเป็นหนังสือได้ โดยยื่นเป็นหนังสือต่อสำนักงานภายใน 30 วัน นับเเต่วันได้รับเเจ้งคำสั่ง

     9. บทกำหนดโทษ 

        การฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามพระราชบัญญัตินี้กฏหมายกำหนดให้ต้องระวางโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามเเต่กรณี

ที่มา : สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรเเละอาหารเเห่งชาติ กระทรวงเกษตรเเละสหกรณ์ (www.acfs.go.th)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita