หลังจากสืบค้นจากระบบ opac แล้ว สิ่งที่ต้องรู้เพื่อไปหยิบหนังสือจากชั้น คืออะไร

Web OPAC คืออะไร

Web OPAC
ย่อมาจาก Web Online Public Access Catalog หมายถึง การสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบออนไลน์ โดยการเชื่อมโยงและโอนย้ายสารสนเทศจากแหล่งที่ให้บริการ ซึ่งเรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) มายังเครื่องที่ใช้บริการ

สารสนเทศใน Web OPAC ประกอบไปด้วย
1) บรรณานุกรม
2) บรรณานุกรม + สารบัญ
3) บรรณานุกรม + บทคัดย่อ/บรรณนิทัศน์
4) บรรณานุกรม + ฉบับเต็มรูป
5) ดัชนีวารสาร
6) รายการวารสาร + หนังสือพิมพ์
7) บรรณานุกรม + เมตาดาต้า + ฉบับเต็มรูป

เว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการ
URL : //www.library.msu.ac.th


เข้าสู่เมนู Web OPAC  ได้ 2 ช่องทาง
คลิก Web OPAC  จากเมนูสืบค้นสารสนเทศ
 คลิก Web OPAC  ที่อยู่มุมขวาบนของเว็บไซต์


ขอบเขตการสืบค้น

      - ผู้แต่ง
      - ชื่อเรื่อง
      - หัวเรื่อง
      - เลยเรียก
      - คำสำคัญ

1.การสืบค้นจากชื่อผู้แต่งผู้แต่ง หมายรวมถึง ผู้แต่งร่วม บรรณาธิการ ผู้แปล ชื่อนิติบุคคล และชื่อรายงานการ ประชุมสัมมนา
* หมายเหตุ : ผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ ให้พิมพ์ชื่อสกุล ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ชื่อต้น     ชื่อกลาง

1.พิมพ์ชื่อผู้แต่ง
2.เลือกขอบเขตการสืบค้น
3.กดปุ่มสิบค้นหา

ผลการสืบค้นจากชื่อผู้แต่ง พบรายการทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นผลงานของผู้แต่ง จำนวน 24 รายการ เรื่องใดที่ตรงกับความต้องการให้คลิกที่ชื่อเรื่องนั้นเพื่อตรวจสอบสถานภาพของหนังสือก่อน เมื่อต้องการสืบค้นใหม่ให้พิมพ์คำค้นลงในช่องว่างแล้วเลือกขอบเขตการสืบค้น กดปุ่ม Search หรือกดปุ่ม New Search เพื่อกลับไปหน้าจอเมนูหลัก

 2.การสืบค้นจากชื่อเรื่อง
พิมพ์ชื่อเรื่องที่ต้องการสืบค้น ซึ่งผู้ใช้ต้องทราบชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ


 ตัวอย่างผลการสืบค้นจากชื่อเรื่อง คำว่า “สารสนเทศ” พบทั้งหมด 121 รายการ ในแต่ละหน้าจะแสดง 12 รายการต่อหน้า ถ้าต้องการดูรายการอื่นให้กดปุ่มเลขหน้าผลการสืบค้นเพื่อแสดงหน้าถัดไป

3. การสืบค้นจากหัวเรื่องหัวเรื่อง หมายถึง คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นเพื่อบ่งบอกถึงเนื้อหาสาระสำคัญของเอกสาร หรือหนังสือ ตลอดจนทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ทุกชนิด

 ผลการสืบค้นจากหัวเรื่องจะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเรื่องที่ต้องการได้ง่ายมากขึ้น โดยผู้ใช้สามารถคลิกหัวเรื่องที่ตรงกับความต้องการเพื่อเข้าไปดูรายการทรัพยากรสารสนเทศว่ามีรายการเรื่องอะไรบ้าง ตัวอย่างจากการสืบค้นพบหัวเรื่องของสารสนเทศจำนวน 69 รายการ และมีจำนวนทั้งหมด 1,152 เล่ม

4. การสืบค้นจากเลขเรียกเลขเรียกหนังสือ หมายถึง สัญลักษณ์ที่กำหนดให้กับทรัพยากรสารสนเทศประกอบด้วยเลขหมู่ พยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่ง เลขประจำตัวผู้แต่ง และพยัญชนะตัวแรกของชื่อเรื่อง เพื่อบอกตำแหน่งที่อยู่ของวัสดุนั้นๆ ในห้องสมุด ซึ่งสำนักวิทยบริการ จัดหมวดหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้

การสืบค้นจากเลขเรียก จะต้องใส่ให้ครบและถูกต้อง ไม่เช่นนั้นระบบจะหารายการทรัพยากรสารสนเทศนั้นไม่พบ

5. การสืบค้นจากคำสำคัญคำสำคัญ คือ คำ หรือวลี ที่ปรากฏอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของชื่อเรื่อง/ชื่อชุด/สารบัญ/บทคัดย่อ ฯลฯ

 ผลการสืบค้นจากคำสำคัญจะได้ผลการสืบค้นจำนวนมากเนื่องจากระบบจะค้นหาคำค้นจากทุกขอบเขตข้อมูล คือ ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง เลขเรียก และเมื่อพบแค่บางส่วนของคำค้น ระบบจะแสดงผลการสืบค้นที่ได้ทั้งหมด จากตัวอย่างพบทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมด 1,926 รายการ

การสืบค้นวารสาร  จาก Web OPAC

เมื่อสืบค้นวารสารเล่มนั้นได้แล้ว ให้จดเลขเรียก และคลิกที่ latest received เพื่อตรวจสอบสถานะของวารสาร

ให้ดูเลขฉบับที่ ปีที่ของวารสารที่ได้จดไว้ ถ้าเป็นวารสารเย็บเล่มจะมีคำภาษาอังกฤษว่า Bound ซึ่งจะถูกจัดเก็บอยู่บนชั้นวารสารชั้น 3 ถ้าเป็นวารสารล่วงเวลาที่รอการเย็บเล่มจะมีคำภาษาอังกฤษว่า Arrived ซึ่งจะเก็บอยู่ที่เคาน์เตอร์วารสาร ให้ผู้ใช้บริการติดต่อบรรณารักษ์เพื่อยืมวารสารเล่มนั้นไปถ่ายเอกสารต่อไป

สถานะของวารสาร


 BOUND  หมายถึง วารสารนั้นเย็บเล่มแล้ว สามารถหยิบได้ด้วยตนเองที่ชั้นวารสารเย็บเล่ม ชั้น 3
ARRIVED  หมายถึง วารสารฉบับนั้นมาแล้ว ติดต่อบรรณารักษ์ที่เคาน์เตอร์วารสาร ชั้น 3
Late  หมายถึง วารสารฉบับนั้นยังไม่มา
To Bind  หมายถึง กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการเย็บเล่ม

การยืมต่อ (Renew)และตรวจสอบประวัติการยืม ผ่าน Web OPAC

การยืมต่อ (Renew) และตรวจสอบประวัติการยืม
            หมายถึง การต่ออายุการยืมทรัพยากรสารสนเทศ ที่ถูกยืมออกจากห้องสมุดโดยไม่ต้องนำทรัพยากรสารสนเทศนั้นมาทำการยืมต่อที่ห้องสมุด และตรวจสอบประวัติการยืมของตนเองเพื่อดูรายการที่ยืม วันกำหนดส่ง หรือดูค่าปรับที่ค้างชำระ โดยดำเนินการผ่านเว็บไซต์สำนักวิทยบริการ หรือจากเครื่องสืบค้น Web OPAC


ขั้นตอนการยืมต่อ            ใช้รหัสบาร์โค้ดและรหัส PIN ที่ใช้กับเครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติ เพื่อล็อคอินเข้าใช้งานในระบบ
 ควรทำการยืมต่อก่อนถึงวันครบกำหนดส่ง 1 วัน หรือภายในวันครบกำหนดส่ง จะไม่สามารถยืมต่อหลังจากวันกำหนดส่งได้หลังจากยืมต่อแล้ว ระบบจะเพิ่มวันยืมให้อีก 7 วัน ผู้ใช้บริการสามารถยืมต่อได้เพียง 1 ครั้ง

การจอง (Hold) ผ่าน web opac

การจอง (Hold)
หมายถึง การจองทรัพยากรสารสนเทศ เช่น หนังสือ สื่อโสตทัศน์ ในกรณีที่ทรัพยากรสารสนเทศนั้นถูกยืมออกไปแล้วผ่าน Web OPAC และเมื่อตรวจสอบรายการที่จองพบว่ามาแล้ว ให้ติดต่อรับรายการที่จองได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน เพื่อนำไปยืมที่เครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติต่อไป

ตัวอย่างการจอง

เมื่อสืบค้นจาก Web OPAC พบว่าหนังสือเรื่องที่ต้องการถูกยืมออกไปแล้ว และผู้ใช้ต้องการยืมหนังสือเล่มนั้นให้คลิกปุ่ม Request ซึ่งอยู่ด้านบนของ Web OPAC

ให้ใส่ชื่อ รหัสบาร์โค้ด และรหัส PIN เช่นเดียวกับการยืมต่อและตรวจสอบประวัติการยืม ให้เลือกสถานที่รับหนังสือ ซึ่งมี 2 แห่ง ได้แก่ 1 MSU Library คือหน่วยบริการขามเรียง และ 2 Srisawas Center คือหน่วยบริการศรีสวัสดิ์ จากนั้นกด Submit

คลิกเลือกหนังสือที่ต้องการจอง จากนั้นคลิกปุ่ม request selected item

การจองที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว

เมื่อการจองเสร็จสิ้นแล้ว ระบบจะแสดงชื่อหนังสือพร้อมชื่อผู้แต่ง และสถานที่รับหนังสือคือสำนักวิทยบริการหน่วยบริการขามเรียง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita