วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง คือ

คำสั่งทางปกครองตามกฎหมายกลาง

            คำว่า “กฎหมายกลาง” หากเป็นคำภาษาพูดในทางกฎหมายเรียกว่า “กฎหมายทั่วไป”  ทั้งนี้คำว่า “กฎหมายกลาง” จะใช้เรียกพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โดยมาตรา 3 กำหนดให้เป็นกฎหมายทั่วไปสำหรับการใช้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับ การออกคำสั่งทางปกครอง การที่กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายทั่วไป หมายความว่า หากมีกฎหมายเฉพาะ (กฎหมายที่บัญญัติอำนาจหน้าที่ในการใช้ดุลพินิจในเรื่องนั้น) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในการออกคำสั่งทางปกครองไว้อย่างไร เจ้าหน้าที่ก็จะต้องปฏิบัติไปตามกฎหมายเฉพาะนั้น เว้นแต่กรณีที่ไม่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติงานไว้ หรือมีกฎหมายเฉพาะ แต่หลักเกณฑ์ของกฎหมายเฉพาะมีลักษณะที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติที่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์หรือมาตรฐานที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง จะใช้กฎหมายเฉพาะนั้นไม่ได้ แต่จะต้องใช้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 บังคับแก่กรณีนั้น ๆ เช่น ความเห็นคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่องเสร็จที่ 205/2541 กรณี ข้อ 21 ของกฎ ก.พ. ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา (ยังใช้กับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 กรณีในการสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหา ต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ผู้นั้นมีสิทธินำทนายความหรือ ที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้ เป็นต้น

            อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นกรณีของขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งที่กำหนดไว้ในกฎหมายเฉพาะ เจ้าหน้าที่จะต้องใช้กฎหมายเฉพาะนั้น ๆ บังคับแก่ขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งเสมอ แม้ว่าขั้นตอนและระยะเวลาตามกฎหมายเฉพาะจะมีหลักประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานที่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติฯ ก็ตาม ส่วนพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามมาตรา 3 ก็เป็นกฎหมายกลางเช่นเดียวกัน ซึ่งกำหนดขั้นตอน วิธีการในการปฏิบัติราชการ แต่จะเพิ่ม “คู่มือสำหรับประชาชน” ซึ่งเป็นคู่มือในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ผู้รับคำขออนุญาตและเป็นรายละเอียดที่ให้ประชาชนได้รับทราบเกี่ยวกับกระบวนการขั้นตอน รวมถึงระยะเวลาในการอนุญาตที่ปรากฏอยู่ในคู่มือสำหรับประชาชน โดยคู่มือสำหรับประชาชนดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (๑) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข (ถ้ามี) ในการยื่นคำขอ (๒) ขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาต และ (๓) รายการเอกสารหรือหลักฐานที่ผู้ขออนุญาตจะต้องยื่นมาพร้อมกับคำขอ

            แต่ก่อนที่เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจในเรื่องนั้นจะออกคำสั่งทางปกครองจะต้องดำเนินการ ดังนี้                    

            “พิจารณาทางปกครอง” ซึ่งหมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง (มาตรา 5) โดยจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ

            “คำสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

            (1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

            (2) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ลักษณะของ “คำสั่งทางปกครอง” เป็นการสั่งการ ซึ่งได้แก่ ข้อความที่บังคับให้บุคคลกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือห้ามมิให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง การอนุญาตให้กระทำการหรือละเว้นกระทำการ หรือการยืนยันสิทธิ ที่มีผลบังคับเฉพาะกรณีใดกรณีหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ จากลักษณะดังกล่าวจะเห็นได้ว่า คำสั่งทางปกครองมีลักษณะเช่นเดียวกับ “กฎ” แต่ขาดคุณลักษณะข้อใดข้อหนึ่งของกฎ คือ ไม่เป็น การบังคับทั่วไป แต่ใชบังคับเฉพาะกรณี และไม่เป็นการบังคับแก่บุคคลทั่วไป แต่ใช้บังคับเฉพาะบุคคล คำสั่งทางปกครองที่ใช้กับบุคคลเฉพาะเรื่องและเฉพาะบุคคล แต่เป็นบุคคลหลายๆ คน ในคราวเดียวกันก็ได้ ถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครองที่มีผลเฉพาะเรื่องและเฉพาะบุคคล ไม่ถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครองทั่วไป เพราะ คำว่าเฉพาะบุคคล รวมถึงกลุ่มบุคคลด้วย ซึ่งหมายถึงกลุ่มบุคคลที่ถูกบังคับตามคำสั่งทางปกครองในคราวเดียวกันหลาย ๆ คน แต่ออกคำสั่งทางปกครองครั้งเดียวกัน เช่น คำสั่งสลายการชุมชม สัญญาณไฟจราจร การประกาศผลสอบ การประกาศผลการเลือกตั้ง เป็นต้น

            ดังนั้น คำสั่งทางปกครองจึงมีความหมายสองประการ คือ คำสั่งทางปกครองที่จะต้องวินิจฉัยในเนื้อหาตาม (1) กับคำสั่งทางปกครองที่เป็นไปตามกฎหมาย ตาม (2) คือ กฎกระทรวงและประกาศ ประกอบด้วย

            กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (ยกเว้นมาตรา 30 ไม่ต้องแจ้งสิทธิก่อนออกคำสั่งทางปกครอง) โดยให้คำสั่ง ทางปกครองในกรณีดังต่อไปนี้ เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 30 วรรคสอง (6) ได้แก่ (1) การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสั่งพักงาน หรือสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อน หรือการให้พ้นจากตำแหน่ง (2) การแจ้งผลการสอบหรือการวัดผลความรู้หรือความสามารถของบุคคล (3) การไม่ออกหนังสือเดินทางสำหรับการเดินทางไปต่างประเทศ (4) การไม่ตรวจลงตราหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว (5) การไม่ออกใบอนุญาตหรือการไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (6) การสั่งให้เนรเทศ

            กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ให้การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้ เป็นคำสั่งทางปกครอง ได้แก่

            1. การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาหรือให้สิทธิประโยชน์ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) การสั่งรับหรือไม่รับคำเสนอขาย รับจ้าง แลกเปลี่ยน ให้เช่า ซื้อ เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ (2) การอนุมัติสั่งซื้อ จ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย ให้เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ (3) การสั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณาคำเสนอหรือการดำเนินการอื่นใดในลักษณะเดียวกัน (4) การสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน

            2. การให้หรือไม่ให้ทุนการศึกษา และยังมีคำสั่งทางปกครอง ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง คำสั่งทางปกครอง ที่ต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งหรือในเอกสารแนบท้ายคำสั่ง ดังต่อไปนี้ (เหตุผล คือ มาตรา 37 คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (1) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ (2) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง (3) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ)

            (1) คำสั่งทางปกครองที่เป็นการปฏิเสธการก่อตั้งสิทธิของคู่กรณี เช่น การไม่รับคำขอ ไม่อนุญาต ไม่อนุมัติ ไม่รับรอง ไม่รับอุทธรณ์ หรือไม่รับจดทะเบียน

            (2) คำสั่งทางปกครองที่เป็นการเพิกถอนสิทธิ เช่น การเพิกถอนใบอนุญาต เพิกถอนการอนุมัติ เพิกถอนการรับรอง หรือเพิกถอนการรับจดทะเบียน

            (3) คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้กระทำการหรือละเว้นกระทำการ

            (4) คำสั่งทางปกครองที่เป็นคำวินิจฉัยอุทธรณ์

            (5) คำสั่งยกเลิกการสอบราคา การประกวดราคา หรือการประมูลราคาที่มีผู้ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาผลการดำเนินการดังกล่าวแล้ว

            ตามที่กล่าวมาแล้ว การพิจารณาทางปกครองและคำสั่งทางปกครองมีความแตกต่างกันในทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากการพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าที่จะต้องมีความเป็นกลางและไม่มีสภาพร้ายแรง (ตามมาตรา 13 และมาตรา 16) จะต้องใช้หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาเพื่อคุ้มครองรับรองสิทธิของคู่กรณี เช่น สิทธิในการมีทนายความหรือที่ปรึกษา (มาตรา ๒๓) สิทธิในการแต่งตั้งผู้ทำการแทน (มาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๕) สิทธิในการได้รับคำแนะนำและได้รับแจ้งสิทธิในกระบวนพิจารณา (มาตรา ๒๗) สิทธิในการได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิ (มาตรา ๓๐) สิทธิในการตรวจดูเอกสารของเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๒) สิทธิในการได้รับทราบเหตุผลของคำสั่งทางปกครอง (มาตรา ๓๗) สิทธิในการได้รับแจ้งสิทธิอุทธรณ์หรือโต้แย้งคำสั่งทางปกครอง (มาตรา ๔๐) เป็นต้น แล้วจึงดำเนินการออกคำสั่งทางปกครองต่อไป โดยหลักในการตรวจสอบความชอบของคำสั่งทางปกครองประกอบด้วย (1) อำนาจของเจ้าหน้าที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ (2) ขั้นตอน วิธีการอันเป็นสาระสำคัญในการออกคำสั่งทางปกครองชอบหรือไม่ และ (3) ดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองชอบหรือไม่

            กรณีศึกษา การพิจารณาทางปกครอง (ยังต้องดำเนินการต่อไป)

            1. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยไม่ร้ายแรง เป็นขั้นตอนที่ผู้บังคับบัญชาอาจดำเนินการก่อนที่จะมีคำสั่งลงโทษทางวินัยต่อไป เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหามีโอกาสทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสโต้แย้งหรือชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาและแสดงพยานหลักฐาน คำสั่งดังกล่าวเป็นการพิจารณาทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๑๑๖/๒๕๕๑)

            2. กรมการปกครองมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ยังต้องดำเนินการสอบสวนและพิจารณาต่อไป เป็นการพิจารณาทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๑๔๙/๒๕๕๒)

            3. สรุปผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดให้ นาย ก. รับผิดทางละเมิดเต็มจำนวน เป็นการพิจารณาทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๔๕/๒๕๕๑)

            4. หนังสือของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่ชี้มูลความผิดนาย ก. โดยให้ดำเนินการทางวินัย อาญา และละเมิด เป็นการพิจารณาทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๑๑๒/๒๕๕๑)

            5. มติของคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดที่เห็นชอบให้นาย ข. ไปประจำที่สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดเป็นเพียงกระบวนการพิจารณาซึ่งเป็นขั้นตอนภายในก่อนที่จะมีคำสั่งทางปกครองย้ายนาย ข. ต่อไป มติดังกล่าวยังมิได้มีสถานะทางกฎหมายออกสู่ภายนอกอันจะมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของนาย ข. เป็นการพิจารณาทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๑๓/๒๕๕๕)

            6. หนังสือของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แจ้งให้ประธาน กกต. ประจำจังหวัดดำเนินการเพิกถอนประกาศ กกต. เรื่อง ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และจัดให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลใหม่ เป็นเพียงหนังสือสั่งการภายในของหน่วยงานทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ฟ.๖/๒๕๕๔)

            กรณีศึกษา คำสั่งทางปกครอง

            1. การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงของอธิบดีกรมที่ดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลที่อยู่ข้างเคียงที่ดินดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๔๓๒/๒๕๕๔)

            2. คำสั่งให้เพิกถอนและแก้ไขรูปแผนที่และเนื้อที่ในหนังสือ น.ส. ๓ ก. ที่นายอำเภอแจ้งให้ผู้ขอออกเอกสารสิทธิ น.ส. ๓ ก. เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ครอบครองที่ดิน คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๑๔/๒๕๕๕)

            3. หนังสือที่มหาวิทยาลัยของรัฐไม่อนุญาตให้นาย ก. เข้าใช้ที่ราชพัสดุในความครอบครองของมหาวิทยาลัยเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ เป็นการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาผลประโยชน์จากที่ราชพัสดุดังกล่าว อันมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของบุคคล จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำสั่งทางปกครองสูงสุด ที่ ๑๕๕/๒๕๕๕)

            4. มติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ให้ นาย ก. ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ในฐานะที่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามอาจได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดไว้ มติดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี จึงมีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๑๖๐/๒๕๕๕)

            5. คำสั่งกรมการปกครองที่อายัดทรัพย์สินบัญชีเงินฝากของนาย ก. ชั่วคราว ๒ บัญชี เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิของนาย ก. จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๖๗๖/๒๕๔๗)

            6. คำสั่งนายอำเภอที่ปฏิเสธการออก น.ส. 3 ก. ให้แก่ราษฎรผู้ยื่นคำขอ เป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๒๔๕/๒๕๕๑)

            7. หน่วยงานความมั่นคงสั่งเนรเทศนาย ก. สัญชาติพม่า เนื่องจากเป็นบุคคลอันตรายต่อสังคม เป็นคำสั่งทางปกครอง ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (๖) ส่วนข้ออื่น ๆ เป็นการพิจารณาทางปกครอง

            8. คำสั่งของหน่วยงานที่ไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดี มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์อันมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิในการที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๓๐/๒๕๕๐ และคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๒๕/๒๕๕๐)

            9. คำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ เป็นคำสั่งที่มีผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของผู้ถูกลงโทษ จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๗๘/๒๕๕๐)                              

            ข้อสังเกต

            1. คำสั่งของจังหวัดในฐานะผู้ว่าจ้างไม่ขยายระยะเวลาก่อสร้างให้แก่นาย บ. ผู้รับจ้าง ตามสัญญาจ้างขุดลอกคลองแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ไม่เป็นคำสั่งทางปกครอง เนื่องจากเป็นการใช้สิทธิตามสัญญา (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๑๑๘/๒๕๕๑)

            2. หนังสือองค์การบริหารส่วนตำบลที่แจ้งให้ผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นเพียงหนังสือแจ้งเตือนให้ผู้ขอปฏิบัติตามเท่านั้น ซึ่งหากผู้ขอฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามก็อาจถูกดำเนินการตามกฎหมายต่อไป หนังสือดังกล่าวจึงมิได้มีผลกระทบโดยตรงต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของนาย ข. จึงมิใช่คำสั่งทางปกครองตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๑๑๙/๒๕๕๕)

            3. หนังสือกรมการปกครองแจ้งเตือนให้นาย ก. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทางละเมิดภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว หากพ้นกำหนดแล้ว กรมการปกครองจะใช้มาตรการบังคับทางปกครองกับนาย ก. โดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของนาย ก. เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ดังกล่าวต่อไป มีลักษณะเป็นเพียงหนังสือเตือนให้นาย ก. นำเงินไปชำระตามคำสั่งกรมการปกครองภายในระยะเวลาที่กำหนด อันเป็นขั้นตอนการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดก่อนที่เจ้าหน้าที่จะใช้มาตรการบังคับทางปกครองต่อไปเท่านั้น จึงไม่เป็นคำสั่งทางปกครอง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๑๕๐/๒๕๕๔)

            4. หนังสือแจ้งเตือนจากนายอำเภอให้ผู้บุกรุกที่สาธารณประโยชน์ออกจากที่ดินที่บุกรุก ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ ตามมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 หากไม่กระทำตาม ผู้ถูกฟ้องคดีจะดำเนินการตามกฎหมายแพ่งและอาญาต่อไปเท่านั้น ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดินเท่านั้นและเป็นหนังสือแจ้งเตือน และกฎหมาย มิได้บัญญัติให้ผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจเข้าไปบังคับจัดการให้บุคคลออกจากที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือใช้มาตรการบังคับทางปกครองในกรณีดังกล่าวได้ แต่จะต้องดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.639/2557)

แบบทดสอบ เรื่องที่ 1 คำสั่งทางปกครอง

หากแบบทดสอบไม่แสดงผลคลิกที่นี่

วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองคืออะไร

วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองหมายความว่า การเตรียมการและการ ดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองหรือกฎ และรวมถึงการดำเนินการใด ๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้

พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กล่าวถึงอะไร

วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการ ของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองหรือกฎ และรวมถึงการดำเนินการใด ๆ ในทางปกครอง ตามพระราชบัญญัตินี้ “การพิจารณาทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของ เจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง

การกระทำทางปกครองคืออะไร

28 ธันวาคม 2547 14:37 น. การกระทำทางปกครอง หมายถึง การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือองค์กรของรัฐใช้อำนาจตามกฎหมาย เช่น การที่ผู้บังคับบัญชาออกคำสั่งแต่งตั้งบุคคล หรือการออกใบอนุญาตให้บุคคลก่อสร้างอาคารเป็นต้น การกระทำทางปกครองอาจแยกได้เป็นสองลักษณะคือ นิติกรรมทางปกครอง และปฎิบัติการทางปกครอง

เจ้าหน้าที่” ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 หมายถึงใคร

เจ้าหน้าที่” หมายความว่า บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล ซึ่งใช้อ านาจหรือได้รับมอบ ให้ใช้อ านาจทางปกครองของรัฐในการด าเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น การจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐหรือไม่ก็ตาม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita