อํานาจสอบสวนของฝ่ายปกครอง 16 ฉบับ

#อำนาจจับของพนักงานฝ่ายปกครอง 1. #อำนาจจับ แท้จริงคือ #อำนาจสืบสวน ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (10) “การสืบสวน”...

Posted by กฎหมายมหาชนในชีวิตประจำวัน on Thursday, May 7, 2020

ยุคใหม่ฝ่ายปกครอง เปิดตัว'สอบสวนกลาง'ที่พึ่งปชช.

ยุคใหม่ฝ่ายปกครอง"ผอ.รัฐวิช"คนหนุ่มไฟแรงผู้บุกเบิกก่อตั้งชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง ปฏิวัติ "สอบสวนกลาง" สู่การสร้างความเป็นธรรม และเป็นที่พึ่งให้กับประชาชนในยุคที่กำลังจะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทยใหม่ พุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 10.30 น.

บอกต่อ : 42

12

14

16


เมื่อเดือน ต.ค. 62 ที่ผ่านมา "กรมการปกครอง" ได้มีคำสั่งปรับปรุงโครงการหน่วยงานภายในของสำนักการสอบสวนและนิติการใหม่ โดยในส่วนที่สำคัญคือ มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายพนักงานฝ่ายปกครอง (ศกปค.)ขึ้น โดยให้รับผิดชอบการจับกุมปราบปรามโดยเฉพาะ แยกออกจากส่วนการสอบสวนคดีอาญา (สสอ.) และให้ สสอ.รับผิดชอบงานสอบสวนคดีอาญาโดยเฉพาะ  

ส่วนการสอบสวนคดีอาญา (สสอ.) สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง ภายใต้การนำของ "ดร.รัฐวิช จิตสุจริตวงศ์" หรือผอ.ชป ผู้อำนวยการส่วนการสอบสวนคดีอาญา อายุ 36 ปี ที่เข้ามารับตำแหน่งใหม่ หลังเพิ่งจบจากการเข้าอบรมหลักสูตรนายอำเภอ รุ่นที่ 78 มาไม่นาน โดย ผอ.รัฐวิช ถือเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกก่อตั้งชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครองมาตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อปี 57 และเป็นคนแรกของฝ่ายปกครองที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรผู้กำกับการของวิทยาลัยการตำรวจ (รุ่นที่ 116) และผ่านหลักสูตรด้านการสืบสวนสอบสวนจากสถาบัน The International Law Enforcement Academy (ILEA) ของสหรัฐอเมริกา ก่อนถูกวางตัวให้เป็นผู้ฟื้นฟูงานสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครอง ให้กลับมาสร้างความเป็นธรรม และเป็นที่พึ่งให้กับประชาชนในยุคที่กำลังจะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทยใหม่นี้





ดร.รัฐวิช กล่าวถึงบทบาทของฝ่ายปกครองในกระบวนการยุติธรรมว่า ตั้งแต่อดีตก่อตั้งกระทรวงมหาดไทยเมื่อ พ.ศ. 2435 จนถึงปัจจุบัน พนักงานฝ่ายปกครองได้เข้ามามีบทบาทหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมแทบจะในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ชั้นต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ พนักงานฝ่ายปกครองนั้นมีบทบาทตั้งแต่ก่อนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ตลอดจนพ้นจากกระบวนการยุติธรรมไปแล้ว ก็ยังมีหน้าที่ที่พนักงานฝ่ายปกครองต้องเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ ดังนี้

1.บทบาทหน้าที่ตั้งแต่ก่อนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ก็คือ การทำหน้าที่เป็นคนกลางไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทให้ชาวบ้าน ตั้งแต่ข้อพิพาทเล็กน้อยในระดับชุมชน จะเป็นหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ไปจนถึงเรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้น ก็จะเป็นหน้าที่ของอำเภอ เพื่อยุติข้อพิพาทให้ไม่ต้องเกิดเป็นคดีความและเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพิ่มปัญหาคนล้นคุก ให้ภาครัฐต้องสิ้นเปลือง รวมทั้งเพื่อไม่ให้เกิดมีการอาฆาตมาดร้ายกันภายในชุมชน

2.บทบาทในกระบวนการยุติธรรมกระแสหลักของฝ่ายปกครอง เป็นหน้าที่ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยเริ่มตั้งแต่ชั้นต้นน้ำ อย่างการสืบสวน จับกุม และปราบปรามการกระทำผิดของผู้ฝ่าฝืนกฎหมายต่างๆ ชั้นกลางน้ำ อย่างการสอบสวนคดีอาญา ซึ่งรวมถึงบทบาทหน้าที่ในกรณีพิเศษ อย่างการชันสูตรพลิกศพกรณีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ (วิสามัญฆาตกรรม) หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองต้องร่วมทำการชันสูตรพลิกศพกับพนักงานสอบสวนตำรวจ แพทย์ และพนักงานอัยการ หรือที่เรียกกันว่า "การชันสูตรพลิกศพ 4 ฝ่าย" อันเป็นกลไกเพื่อเป็นหลักประกันความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน และในชั้นปลายน้ำ อย่างการพิจารณาเห็นชอบหรือทำความเห็นแย้งพนักงานอัยการ กรณีมีคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ หรือไม่ฎีกา 

3.บทบาทหน้าที่หลังพ้นจากกระบวนการยุติธรรมไปแล้ว อย่างการที่ให้พนักงานฝ่ายปกครอง ไม่ว่าจะเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือปลัดอำเภอคอยติดตามและสอดส่อง รวมถึงการรับรายงานตัวของผู้ได้รับการพักโทษหรือใส่เครื่องติดตามอิเล็กทรอนิกส์ (กำไล EM) รวมทั้งผู้พ้นโทษอีกด้วย



เมื่อถามว่าการสอบสวนคดีอาญาเป็นหน้าที่เฉพาะของตำรวจ และหลายคนมองว่าบทบาทนี้ของฝ่ายปกครองทับซ้อนกับตำรวจหรือไม่ ผอ.ส่วนการสอบสวนคดีอาญา ระบุว่า ต้องยอมรับว่าในมิติของงานด้านการสอบสวนคดีอาญานี้ ภาคประชาชนยังไม่ค่อยจะทราบว่าพนักงานฝ่ายปกครองอย่างผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอ มีอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานสอบสวนคดีอาญาด้วยเช่นกัน คงจะคุ้นชินว่ามีเพียงตำรวจที่ทำหน้าที่สอบสวนคดีอาญา แต่จริงแล้วฝ่ายปกครองก็ทำหน้าที่พนักงานสอบสวน ทำการสอบสวนคดีอาญามาอย่างต่อเนื่อง ความจริงแล้วทำหน้าที่สอบสวนมาก่อนฝ่ายตำรวจเสียอีก เพียงแต่ว่า นับตั้งแต่ประเทศไทยนำระบบตำรวจมาใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 กระทั่งแยกออกจากกระทรวงมหาดไทยไปตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติในปี 2547 การสอบสวนคดีอาญาโดยทั่วไปจึงเป็นหน้าที่ของตำรวจเป็นหลักนับตั้งแต่นั้นมา แต่จริงแล้วฝ่ายปกครองก็ยังคงมีบทบาทและใช้อำนาจในส่วนที่เกี่ยวกับการสอบสวนคดีอาญานี้มาตลอด เพื่ออำนวยความเป็นธรรมให้กับประชาชน





โดยการสอบสวนคดีอาญาในอำนาจหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองนั้น ปัจจุบันนี้จะดำเนินการใน 4 เรื่องหลักๆ ได้แก่  1.การสอบสวนคดีอาญาบางประเภทที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองโดยตรง หรือกฎหมาย 16 ฉบับ เช่น กฎหมายบัตรประจำตัวประชาชน กฎหมายทะเบียนราษฎร กฎหมายสาธารณสุข กฎหมายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กฎหมายโรงแรม กฎหมายค้าของเก่า กฎหมายเรี่ยไร เป็นต้น 2.การสอบสวนคดีละเมิดข้อบัญญัติท้องถิ่น 3.การควบคุมการสอบสวนหรือร่วมสอบสวนกับพนักงานสอบสวนตำรวจ และ 4. การทำความเห็นแย้งกรณีพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ หรือไม่ฎีกา 



โดยในเรื่องที่ 1 การสอบสวนคดีอาญาบางประเภท (กฎหมาย 16 ฉบับ) และเรื่องที่ 2 การสอบสวนคดีละเมิดข้อบัญญัติท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะลดขั้นตอนและกระบวนงานเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน เมื่อพนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้ปฏิบัติตามกฎหมายและมีความชำนาญในกฎหมายเหล่านี้มากกว่าตำรวจ ซึ่งการที่พนักงานฝ่ายปกครองมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาอยู่แล้ว ก็สมควรที่จะเป็นผู้ดำเนินการให้เบ็ดเสร็จไปเลย โดยถือเป็นการแบ่งเบาภาระให้กับพนักงานสอบสวนตำรวจได้อีกทางหนึ่งด้วย ส่วนในเรื่องที่ 3 การควบคุมการสอบสวนหรือร่วมสอบสวนกับพนักงานสอบสวนตำรวจ ส่วนใหญ่การใช้อำนาจในกรณีนี้ จะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอเห็นว่า เป็นกรณีที่สำคัญและประชาชนให้ความสนใจหรือร้องขอความเป็นธรรม ซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองมักใช้อำนาจในการควบคุมหรือร่วมสอบสวนนี้ ในคดีเกี่ยวกับป่าไม้และทรัพยากรของชาติอื่นๆ ซึ่งเมื่อก่อนถือเป็นนโยบายสำคัญที่รัฐบาลสั่งการให้ฝ่ายปกครองต้องเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในชั้นการสอบสวนนี้ และคดีกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ อย่างเช่น คดีวิสามัญฆาตกรรม ฯลฯ รวมถึงคดีที่ประชาชนร้องขอความเป็นธรรมในคดีต่างๆ ภายใต้แนวคิดที่ต้องการให้ฝ่ายปกครองเป็นผู้ที่เข้ามาช่วยตรวจสอบและถ่วงดุล (Check & Balance) ในชั้นสอบสวน เช่นเดียวกันกับในเรื่องที่ 4 ที่ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่พิจารณาเห็นชอบหรือทำความเห็นแย้งกรณีพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ หรือไม่ฎีกา





ผอ.รัฐวิช กล่าวถึงการขับเคลื่อนงานด้านการสอบสวนคดีอาญาของฝ่ายปกครองจะมีอะไรบ้าง และประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างไรว่า ในช่วง 2-3 ปีมานี้ การบังคับใช้กฎหมายของฝ่ายปกครองมีความเข้มแข็งขึ้นมาก โดยเฉพาะชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครองได้บังคับใช้กฎหมายอย่างเฉียบขาด ไม่ว่าจะเป็นสถานบริการผิดกฎหมาย บ่อนการพนัน หรือแม้กระทั่งการปราบปรามการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่ยอมรับของภาคประชาชนแล้ว และอีกผลงานหนึ่งที่ภาคประชาชนรู้จักดี ก็คือ ศูนย์ดำรงธรรม ที่ได้จัดตั้งขึ้นในทุกจังหวัดและทุกอำเภอ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการรับเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตามก็สามารถมาร้องเรียนให้แก้ไขปัญหาหรือขอความเป็นธรรมได้ที่ศูนย์ดำรงธรรม

"ในปี 63 นี้ ผู้บังคับบัญชาต้องการที่จะเห็นการต่อยอดการขับเคลื่อนบทบาทของศูนย์ดำรงธรรม ในการอำนวยความเป็นธรรมให้กับประชาชน ที่ร้องขอความเป็นธรรมเนื่องจากอ้างว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะในชั้นการสอบสวนคดีอาญา ที่กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเปิดช่องให้พนักงานฝ่ายปกครองสามารถเข้าไปช่วยตรวจสอบและถ่วงดุล (Check & Balance) เพื่อให้เป็นหลักประกันความเป็นธรรมแก่ประชาชนและเพิ่มมาตรการของรัฐในการประกันความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรมของไทยอีกด้วย" ดร.รัฐวิช กล่าว



ปัจจุบันส่วนการสอบสวนคดีอาญา (สสอ.) สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง เป็นหน่วยงานส่วนกลางที่มีหน้าที่รับผิดชอบขับเคลื่อนงานสอบสวนของฝ่ายปกครองโดยเฉพาะ โดยบุคลากรของ สสอ.จะคัดเลือกมาจากนักปกครองและนักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในด้านการสอบสวนคดีอาญา ซึ่ง สสอ. จะมีหน้าที่รับผิดชอบในการอำนวยการ และสนับสนุนการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครองทั่วประเทศ โดยในช่วงต้นนี้ สสอ. ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกไปเป็นพี่เลี้ยงในการทำการสอบสวนให้กับพนักงานฝ่ายปกครองในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ พร้อมกับได้เริ่มจัดทำโครงการออกไปฝึกอบรมภาคปฏิบัติในสถานการณ์จริง หรือ Learning by doing เพื่อเพิ่มศักยภาพการสอบสวนคดีอาญาให้กับพนักงานฝ่ายปกครองในส่วนภูมิภาคแล้ว ซึ่งในเดือน ม.ค. 63 ที่ผ่านมา ได้เริ่มต้นที่ จ.ลำปาง และทุกอำเภอในช่วงนี้จะเริ่มมีการทบทวนและปรับปรุงที่ทำการพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองให้มีมาตรฐานและความพร้อมสำหรับทำการสอบสวนคดีอาญาต่อไป

ในระยะยาวหากรัฐบาลได้ดำเนินการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมได้สำเร็จ และให้ฝ่ายปกครองเข้ามามีบทบาทในกระบวนการยุติธรรมได้เข้ามารับผิดชอบงานสอบสวน โดยเฉพาะในคดีที่ประชาชนร้องขอความเป็นธรรม ซึ่งปัจจุบันฝ่ายปกครองก็ขับเคลื่อนอยู่แล้วในหน้างานของศูนย์ดำรงธรรม เชื่อว่าประชาชนจะมีหลักประกันความเป็นธรรม รวมทั้งได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

สอบสวนคดีอาญา (สสอ.) มีการทำงานลักษณะเดียวกับ"สอบสวนกลาง"ของตำรวจ โดยเป็นหน่วยเดิมของกรมการปกครองอยู่แล้ว แต่ช่วง 2-3 ปีนี้เน้นจับกุมอย่างเดียว งานสอบสวนเลยไม่ค่อยพัฒนา แต่ตอนนี้งานจับกุมแยกออกไปตั้งเป็นหน่วยใหม่ เรียกว่า ศูนย์ปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายพนักงานฝ่ายปกครอง ดังนั้น สสอ.จึงกลับมามุ่งพัฒนางานสอบสวนอย่างเต็มที่ รับผิดชอบอำนวยการงานสอบสวนทั่วประเทศ-คอยประสานฝ่ายปกครองระดับอำเภอ/จังหวัดทั่วประเทศ คัดสรรข้าราชการสายกฎหมายเข้ามาอยู่โดยเฉพาะ มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญสามารถไปช่วยภูมิภาคอำนวยความเป็นธรรมในชั้นสอบสวน รวมถึงการทำความเห็นแย้งของผู้ว่าฯกรณีอัยการสั่งไม่ฟ้อง ทั้งนี้หากมีคดีใหญ่ ๆ สำคัญ ๆ  สสอ.สามารถออกไปช่วยได้หมด แต่จะเน้นในชั้นสอบสวน ส่วนชั้นจับกุมเป็นหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายพนักงานฝ่ายปกครอง หรือชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง.

 

ย้อนกลับ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita