การเพิ่มชื่อใน ทะเบียนบ้าน ท.ร. 13

การเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้านเล่มเหลืองสำหรับชาวต่างชาติ

Table of Contents

การเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้านเล่มเหลืองสำหรับชาวต่างชาติ “ท.ร.13 มีอะไรต้องรู้บ้าง และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง”

ปกติแล้วคนไทยจะคุ้นเคยกับทะเบียนบ้านเล่มสีน้ำเงิน หรือท.ร.14 แต่รู้หรือไม่ว่ายังมีทะเบียนบ้านอีกแบบ คือท.ร.13 หรือที่เป็นเล่มสีเหลืองด้วย ซึ่งความแตกต่างคือเล่มสีน้ำเงินนั้นสำหรับผู้มีสัญชาติไทย ส่วนเล่มสีเหลืองสำหรับชาวต่างชาติ บทความนี้จะรวบรวมถึงความสำคัญของทะเบียนบ้านเล่มเหลือง 

ประโยน์ของทะเบียนบ้านเล่มเหลือง

ทะเบียนบ้านเล่มเหลืองหรือท.ร.13 มีไว้ทำไม แน่นอนว่าเอกสารนี้มีประโยชน์มากมาย คุ้มกับการเสียเวลาดำเนินการแน่นอน ชาวต่างชาติที่มีชื่อในทะเบียนบ้านไทยจะได้สิทธิในการทำนิติกรรมในประเทศไทย เช่น ทำใบขับขี่ ทำเอกสารสัญญาต่างๆ ยื่นขอ PR หรือขอสัญชาติ และใช้ยืนยันถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย นอกจากนั้นยังช่วยในการทำเอกสารบัตรประจำตัวชาวต่างชาติหรือบัตรชมพูได้อย่างง่ายดายอีกด้วย

ชาวต่างชาติที่จะขอท.ร.13 ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?

ถึงแม้จะเป็นชาวต่างชาติที่เข้าประเทศมาแบบถูกกฎหมาย แต่อาจจะไม่ใช่ทุกคนที่จะขอท.ร.13 ได้ เพราะคุณสมบัติที่กำหนดไว้ มี 2 กรณีหลักๆดังต่อไปนี้

1. กรณีสมรสกับผู้มีสัญชาติไทย

2. กรณีซื้ออสังหาริมทรัพย์และมีชื่อตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์

กรณีนอกเหนือจากสองข้อนี้ หากต้องการยื่นขอทะเบียนบ้านเล่มเหลืองหรือ ท.ร.13 ทางเจ้าบ้านจะต้องแสดงความจำนงมาดำเนินการกับทางเขตหรืออำเภอ และจะต้องผ่านการสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่ถึงเหตุผลจำเป็นในการขอเอกสารนี้ กรณีที่เจ้าของบ้านหรือเจ้าบ้านต้องการขอเอกสารนี้ให้กับชาวต่างชาติที่เป็นผู้เช่าหรือเป็นเพื่อนหรือคู่ค้าทางธุรกิจก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยสามารถติดต่อเขตหรืออำเภอที่มีทะเบียนบ้านอยู่เพื่อขอรายละเอียดและลิสต์ของเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ได้เลย 

เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการขอท.ร.13

1. สำหรับชาวต่างชาติที่สมรสกับผู้มีสัญชาติไทย ให้ทั้งเจ้าบ้านและชาวต่างชาติเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

  • หนังสือเดินทางฉบับจริง
  • สำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองโดยสถานทูตและแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานกงสุลไทย
  • ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (กรณีทำงานในประเทศไทย)
  • ทะเบียนสมรส
  • สูติบัตรบุตร (กรณีมีบุตร)
  • รูปถ่าย 1.5 นิ้วจำนวน 2 รูป
  • บัตรประชาชนตัวจริงของเจ้าบ้าน
  • บัตรประชาชนตัวจริงของคู่สมรส
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านเล่มจริง
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (เตรียมมาเผื่อ)

**คู่สมรสชาวไทยต้องอยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันเท่านั้น

**นอกจากนี้ต้องมีพยาน 2 คน และอย่าลืมให้พยานเตรียมบัตรประชาชนให้เรียบร้อย (กรณีสมรส พยาน 2 คนสามารถเป็นเจ้าบ้านและคู่สมรส)

2. สำหรับชาวต่างชาติที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์และมีชื่อตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ให้เตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

  • หนังสือเดินทางฉบับจริง
  • สำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองโดยสถานทูตและแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานกงสุลไทย
  • ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (กรณีทำงานในประเทศไทย)
  • ท.ร.14 ฉบับภาษาไทย
  • สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์พร้อมเอกสารยืนยันการถือกรรมสิทธิ์
  • รูปถ่าย 1.5 นิ้วจำนวน 2 รูป

**นอกจากนี้ต้องมีพยาน 2 คน และอย่าลืมให้พยานเตรียมบัตรประชาชนให้เรียบร้อย
หมายเหตุ เอกสารการยื่นขอทะเบียนบ้านเล่มเหลืองจะมีความแตกต่างไปในแต่ละเขตและอำเภอ บางอำเภออาจจะเรียกขอเอกสารเพิ่มเติม จึงแนะนำให้โทรสอบถามกับทางสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอที่ต้องการไปเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้านก่อนเดินทางไปยื่นเอกสาร

ขั้นตอนการยื่นขอท.ร.13

ทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานครให้ติดต่อที่สำนักงานเขต ส่วนทะเบียนบ้านในต่างจังหวัดใหัติดต่อที่ว่าการอำเภอ โดยควรโทรสอบถามถึงเอกสารที่ต้องใช้ก่อนเสมอ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา

ขั้นตอนการดำเนินการ

  1.  นำเอกสารทั้งหมดไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่
  2.  เจ้าหน้าที่ตรวจความเรียบร้อยสมบูรณ์ของเอกสาร จากนั้นจะนัดวันสัมภาษณ์แก่เจ้าบ้าน ชาวต่างชาติที่ต้องการใส่ชื่อเป็นผู้อาศัย และพยาน (หรือบางเขตก็จะทำการสัมภาษณ์ในวันเดียวกันเลยหากเตรียมเอกสารและพยานบุคคลมาพร้อม)
  3. เมื่อสัมภาษณ์เสร็จแล้ว หากเอกสารถูกต้องและไม่มีปัญหาอะไร เจ้าหน้าที่จะแจ้งระยะเวลาการออกทะเบียนบ้านเล่มเหลือง และจะนัดวันให้ไปรับเล่มทร.13 หรืออาจมีการขอเบอร์ติดต่อไว้ เพื่อแจ้งให้มารับเล่ม

การดำเนินการทั้งหมดจะใช้เวลาอย่างน้อย 7 วันทำการ แล้วแต่เขตพื้นที่ที่ดำเนินการ แน่นอนว่าในเขตกรุงเทพมหานครจะใช้เวลาน้อยกว่า เนื่องจากเจ้าหน้าที่มีความคุ้นเคยในการทำเอกสารนี้ ส่วนการดำเนินเรื่องในอำเภอต่างจังหวัด อาจใช้เวลาดำเนินการนาน 2-4 สัปดาห์ 

DetailsDetails

หลักเกณฑ์

การเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้านมีหลายกรณี ได้แก่                  

    1. กรณีตกสำรวจตรวจสอบทะเบียนราษฎรเมื่อปี พ.ศ. 2499 (จะต้องเป็นผู้เกิดก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 2499)
    2. กรณีเพิ่มชื่อตามเอกสารทะเบียนราษฎรแบบเดิมที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่ สูติบัตร ใบแจ้งการย้าย ที่อยู่ และทะเบียนบ้าน
    3. กรณีคนสัญชาติไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ หรือเกิดในต่างประเทศแล้วเดินทางกลับเข้ามา ในประเทศไทย ทั้งที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นคนไทยและไม่มีหลักฐาน
    4. กรณีอ้างว่าเป็นคนไทยแต่ไม่มีหลักฐานเอกสารมาแสดง
    5. กรณีเด็กอนาถาซึ่งอยู่ในความอุปการะของบุคคล หน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐ
    6. กรณีบุคคลที่ลงรายการในทะเบียนบ้านว่า "ตาย" หรือ "จำหน่าย" มาขอเพิ่มชื่อ
    7. กรณีคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
    8. กรณีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
    9. กรณีที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่ต่อมาได้รับสัญชาติไทย
    10. กรณีคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดยได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษหรือไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง รวมทั้งผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย

ผู้มีหน้าที่แจ้ง
    ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ขอเพิ่มชื่อ บิดา หรือมารดา กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้เยาว์ หรือผู้อุปการะ เลี้ยงดู กรณีเด็กอนาถา

สถานที่ยื่นคำร้อง
    ได้แก่ สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ผู้ขอเพิ่มชื่อมีภูมิลำเนาอยู่ใน ปัจจุบันเว้นแต่
    1. กรณีเพิ่มชื่อตามสูติบัตรแบบเดิม ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ออกสูติบัตรฉบับนั้น
    2. กรณีเพิ่มชื่อตามแบบใบแจ้งการย้ายที่อยู่ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ประสงค์จะขอเพิ่มชื่อ
    3. กรณีเพิ่มชื่อตามทะเบียนบ้านแบบเดิม ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ครั้งสุดท้าย
    4. กรณีเพิ่มชื่อของผู้ที่ลงรายการจำหน่ายหรือตายไว้แล้ว ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ผู้นั้นเคยมีชื่อ ในทะเบียนบ้าน ก่อนถูกจำหน่ายรายการ

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ แบ่งเป็น 2 กรณี

กรณีมีหลักฐานมาแสดง
    1. บัตรประจำตัวเจ้าบ้านหรือผู้แจ้ง
    2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
    3. รูปถ่ายผู้ขอเพิ่มชื่อ 1 รูป (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่ออายุเกิน 7 ปี)
    4. ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านฉบับปีพ.ศ. 2499 , พ.ศ. 2515 หรือ พ.ศ. 2526
    5. ใบสูติบัตร (แบบเดิมซึ่งไม่มีเลขประจำตัวประชาชน)
    6. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (แบบเดิมจึงไม่มีเลขประจำตัวประชาชน)

กรณีไม่มีหลักฐานมาแสดง
    1. บัตรประจำตัวเจ้าบ้านหรือผู้แจ้ง
    2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
    3. รูปถ่ายของผู้ขอเพิ่มชื่อ 1 รูป (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่ออายุเกิน 7 ปี)
    4. บัตรประจำตัวบิดา มารดา (ถ้ามี)
    5. บัตรประจำตัวพยานบุคคลที่ให้การรับรอง
    6. เอกสารประกอบ เช่น หลักฐานการศึกษา (ถ้ามี) ส.ด.9 (ถ้ามี)

ขั้นตอนในการติดต่อ
    * 1. การยื่นเอกสารและหลักฐาน
    - กรณีมีหลักฐานมาแสดงให้ยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ร้องขอเพิ่มชื่อปรากฎรายการในเอกสารนั้น ๆ
    - กรณีไม่มีหลักฐานมาแสดงให้ยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ร้องอาศัยอยู่ในปัจจุบัน
    * 2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน
    * 3. ตรวจสอบรายการในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
    * 4. สอบสวนพยานบุคคลที่ให้การรับรอง
    * 5. บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคลที่ขอเพิ่มชื่อ ผู้แจ้ง และพยานบุคคลที่ให้การรับรองและให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือ  ตามแบบ ท.ร.25
    * 6. รวบรวมหลักฐานเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติในการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
    * 7. คืนหลักฐานให้ผู้แจ้ง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita