ปวดท้องเมนส์ แต่เมนส์มานิดเดียว

          อาการปวดท้องประจำเดือนที่ผิดปกติเป็นสัญญานของความผิดปกติที่สามารถบ่งบอกถึงภาวะสุขภาพของผู้หญิงได้เป็นอย่างดี บางโรคอาจส่งผลถึงภาวะมีบุตรยาก ดังนั้นหากคุณผู้หญิงมีอาการปวดท้องประจำเดือนที่ผิดปกติไปจากเดิม ไม่ควรนิ่งนอนใจ ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติ  ตรวจอัลตร้าซาวน์ ของมดลูกและรังไข่จะได้รับการรักษาได้ตรงจุด และมีสุขภาพที่ดีขึ้น

เคยสงสัยกันใช่ไหมว่า เลือดที่เปื้อนกางเกงใน หรือติดกระดาษทิชชู่เวลาซับออกมานั้น ใช่เลือดประจำเดือนหรือเปล่า? เพราะบางทีก็โผล่มาในช่วงที่ประจำเดือนยังไม่สมควรมา หรือก็ออกมาน้อยซะจนไม่น่าใช่ประจำเดือน

IN BRIEF

  • ประจำเดือนมาน้อย = ประจำเดือน ดังนั้นต้องเกิดขึ้นในช่วงประจำเดือนเท่านั้น
  • ประจำเดือนมาเร็วหรือช้ากว่ากำหนดไม่เกิน 7 วัน = ปกติ
  • เลือดออกกะปริบกะปรอย ≠ ประจำเดือน ดังนั้นมักจะเกิดขึ้นในช่วงอื่น ๆ ของรอบเดือน
  • แต่! เลือดออกกะปริบกะปรอยที่ออกมาก่อนกำหนดประจำเดือนมา 3 วัน = เลือดประจำเดือน

ทำแบบสอบถามและดูข้อมูลเพิ่มเติม

ประจำเดือนคืออะไร

ประจำเดือน คือ เลือดที่มดลูกขับออกมาพร้อมเยื่อบุโพรงมดลูก เมื่อไม่มีการฝังตัวของไข่ในรอบเดือนนั้น ๆ ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุก ๆ 22-45 วัน แตกต่างกันไปในแต่ละคน ประจำเดือนสามารถมาเร็วหรือช้ากว่าวันที่คาดไว้ได้ประมาณ 7 วัน โดยยังถือว่าปกติ

ประจำเดือนมาน้อยเป็นแบบไหน

ประจำเดือนมาน้อย คือ เลือดที่ออกมาในช่วงที่คุณมีประจำเดือน แต่มีปริมาณน้อยกว่าปกติ หรือมาไม่เกิน 2 วัน โดยอาจจะเป็นเลือดหยด ๆ หรือเปื้อนผ้าอนามัยเพียงเล็กน้อย

ประจำเดือนมาน้อยอาจเกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน ความเครียด หรือการขาดสารอาหารบางชนิด ซึ่งยังไม่มีอะไรต้องกังวลมากค่ะ ตราบใดที่ประจำเดือนยังมาทุกเดือน ไม่ได้หายไปไหน ก็โอเคจ้า

เลือดออกกะปริบกะปรอยเป็นแบบไหน

เลือดออกกะปริบกะปรอย คือ เลือดที่ออกมาในช่วงที่คุณไม่ได้มีประจำเดือน โดยมักมีปริมาณน้อยมาก หรือมีปริมาณเดียวกับประจำเดือนมาน้อย ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้บ้าง แต่ไม่ควรเกิดขึ้นติดต่อกันนานเกิน 7 วัน และไม่ควรเกิดขึ้นเป็นประจำ เพราะอาจเป็นสัญญาณบอกอาการผิดปกติบางอย่างค่ะ

เลือดออกกะปริบกะปรอยจะนับเป็นเลือดประจำเดือนในกรณีไหนบ้าง

แม้ว่าปกติแล้ว “เลือดประจำเดือน” และ “เลือดออกกะปริบกะปรอย” จะเป็นคนละอย่างกัน แต่ก็มีบางกรณีที่เราจะถือว่าเลือดออกกะปริบกะปรอยคือเลือดประจำเดือน นั่นคือ เลือดออกกะปริบกะปรอยที่เกิดขึ้นก่อนวันที่คาดว่าประจำเดือนจะมา ประมาณ 3 วัน

ดังนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าเลือดที่ออกมาเป็นเลือดชนิดไหน และจะส่งผลอะไรต่อสุขภาพในวันข้างหน้าหรือเปล่า จึงควรบันทึกทุกครั้งที่มีเลือดออกกะปริบกะปรอย นอกจากนี้หากอยากรู้ว่าสาเหตุของเลือดออกกะปริบกะปรอยเกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนไหม สามารถตรวจฮอร์โมน Yesmom’s Fertility Test ได้ด้วยนะ โดยชุดตรวจภาวะเจริญพันธุ์ Yesmom ช่วยวิเคราะห์ผลตรวจฮอร์โมนของคุณอย่างเข้มข้นและแนะนำว่าคุณควรทำความเข้าใจและจัดการภาวะเจริญพันธุ์ของคุณอย่างไรเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

อาการปวดท้องประจำเดือนเกิดจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก จากการหลั่งสารที่ชื่อว่าพรอสตาแกลนดิน ที่สร้างขึ้นบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกระหว่างมีประจำเดือน ทำให้เยื่อบุมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน

อาการปวดท้องประจำเดือน (Dysmenorrhea)

เป็นสิ่งที่ผู้หญิงเกือบทุกคนเคยมีประสบการณ์ อาการปวดอาจมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป แต่ในผู้หญิงที่มีอาการปวดท้องประจำเดือนมากผิดปกติ ต้องระวังว่าอาจมีความผิดปกติบางอย่างของมดลูกที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว

ปวดท้องประจำเดือนเกิดจากอะไร ?

อาการปวดท้องประจำเดือนเกิดจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก จากการหลั่งสารที่ชื่อว่าพรอสตาแกลนดิน ที่สร้างขึ้นบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกระหว่างมีประจำเดือน ทำให้เยื่อบุมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน โดยปกติผู้หญิงจะมีอาการปวดท้องน้อยก่อนประจำเดือนมา 1-2 วัน และมีอาการปวดในช่วงประจำเดือนมาแล้ว 2-3 วันแรก โดยลักษณะเป็นอาการปวดบีบหรือปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย ถ้ามีอาการมากอาจปวดร้าวไปหลัง หรืออาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ ท้องเสีย ท้องอืด

ปวดท้องประจำเดือนผิดปกติมีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง ?

  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือ ช็อคโกแลตซีสท์
  • เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Myoma uteri)
  • เยื่อบุมดลูกเจริญภายในกล้ามเนื้อมดลูก (Adenomyosis)
  • พังผืดในอุ้งเชิงกราน
  • การอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
  • ปากมดลูกตีบ
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก

อาการอย่างไรที่ควรไปพบแพทย์ ?

  • ปวดประจำเดือนมากรับประทานยาไม่ดีขึ้น หรือปวดมากจนรบกวนชีวิตประจำวัน
  • อาการปวดประจำเดือนเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
  • ประจำเดือนมามากกว่าปกติ
  • เลือดประจำเดือนมีสีคล้ำผิดปกติ
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • ปวดท้องน้อยเรื้อรัง แม้ไม่ใช่ช่วงมีประจำเดือน
  • ปวดท้องน้อยเวลามีเพศสัมพันธ์มาก
  • มีไข้ หนาวสั่น
  • ตกขาวผิดปกติ คันช่องคลอด ปัสสาวะขัด
  • มีปัญหามีบุตรยาก

ผู้หญิงที่มีอาการดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ โดยแพทย์จำทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติมตามสาเหตุที่สงสัย เช่น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita