ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ ลูกน้ำหนักน้อย

IN THIS SECTION

  • พัฒนาการของทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 36
  • การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของคุณแม่
  • อาการที่พบบ่อยของคุณแม่ในสัปดาห์ที่  36
  • คำแนะนำสำหรับคุณแม่

พัฒนาการของทารกในครรภ์ในสัปดาห์ที่ 36
My Baby This Week  

ในช่วงสัปดาห์ที่ 36 นี้ ลูกน้อยของคุณแม่คุณพ่อจะมีขนาดความยาวของร่างกายประมาณ 44.5 เซนติเมตร ถึง 48.3 เซนติเมตร หรือ 17.5 นิ้ว ถึง 19 นิ้ว และมีน้ำหนักประมาณ 2.6 กิโลกรัม ถึง 3.1 กิโลกรัม หรือ 5.75 ปอนด์ ถึง 6.75 ปอนด์ ขนาดจะใกล้เคียงกับผักคะน้า 1 กำ (A bunch of kale) โดยในช่วงอายุครรภ์ 36 สัปดาห์นี้ทารกจะมีผิวที่อมชมพูมากขึ้น และมีลักษณะอวบอ้วน ซึ่งเป็นลักษณะของเด็กแรกเกิด (Newborn)

ในช่วงนี้พัฒนาการด้านอวัยวะภายนอกร่างกายของทารกจะพัฒนาช้าลงแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีด้วยเหตุผลสองประการ ประการแรกคือการที่ทารกเริ่มเติบโตช้าลงในช่วงนี้ เป็นสัญญาณว่าทารกกำลังเก็บพลังงาน ไว้ใช้ระหว่างการคลอด (Labor) และการใช้ชีวิตภายนอกครรภ์ อีกประการหนึ่งคือ หากทารกเติบโตไปมากกว่านี้ จะทำให้การคลอดเป็นไปได้ยากมากขึ้น เนื่องจากส่วนศีรษะและลำตัวของทารกมีโอกาสติดบริเวณช่องคลอด (Birth canal) ได้

พัฒนาการสำคัญที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของทารกในช่วงนี้คือ ระบบไหลเวียนโลหิต ได้พัฒนาจนสมบูรณ์และพร้อมใช้งานเต็มประสิทธิภาพแล้ว และ ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System) ก็พร้อมใช้งาน เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคภายนอกครรภ์แล้วเช่นกัน

นอกจากนี้ ในช่วงสัปดาห์นี้ทารกยังมีพัฒนาการที่น่าสนใจอีกส่วนหนึ่งนั่นคือประสาทการได้ยิน ที่สามารถรับรู้และจำแนก เสียงต่างๆได้แล้ว ผลการวิจัยยังเผยอีกว่าทารกสามารถรับรู้และจดจำเสียงของคุณแม่คุณพ่อได้ รวมไปถึงเสียงเพลงที่เคยได้ฟัง

สุขภาพของทารกในช่วงสัปดาห์ที่ 36
Baby's Health

ในช่วงสัปดาห์ใกล้คลอดนี้ คุณหมอหลายท่านจะนัดพบคุณแม่ทุกสัปดาห์ โดยอาจทำการอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เพื่อติดตามผลการเติบโตของทารก รวมไปถึงอัตราการเต้นของหัวใจ ลักษณะของรก (Placenta) และท่าทางของทารก ซึ่งในช่วงสัปดาห์นี้ควรอยู่ในลักษณะหัวลง (Head down) ซึ่งเป็นท่าเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด

หากคุณแม่ยังไม่ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรน (Whooping cough) หรือเรียกว่า Tdap ระหว่างการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรพิจารณาเข้ารับการฉีดวัคซีนก่อนหมดช่วงที่สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ ซึ่งสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้าย โดยศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention – CDC) ได้แนะนำให้คุณแม่ฉีดวัคซีน Tdap ขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อลูกน้อยในครรภ์ มากกว่าการฉีดวัคซีนให้กับคุณแม่หลังคลอด เนื่องจากวัคซีนจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์กว่าจะเริ่มผลิตสารภูมิต้านทานในร่างกาย ดังนั้นแม้คุณแม่จะไม่ส่งต่อโรคไอกรนไปให้ลูกน้อยในช่วง 2 เดือนแรกก่อนลูกน้อยรับการฉีดวัคซีนครั้งแรก แต่ลูกน้อยก็อาจรับเชื้อโรคไอกรนจากผู้อื่นได้ในช่วงที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน

นอกจากนี้คุณหมอยังอาจให้คุณแม่รับการตรวจการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัสกรุ๊ปบี (Group B Strep test) ขณะตั้งครรภ์ เพื่อให้มั่นใจว่าทารกที่จะเกิดมานั้นจะไม่เสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพ

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 36
My Body
ในช่วงอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มจากน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ประมาณ 9 กิโลกรัม ถึง 13 กิโลกรัม หรือ 20 ปอนด์ ถึง 30 ปอนด์ โดยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นและขนาดของท้องที่ใหญ่มากขึ้นในช่วงนี้จะทำให้คุณแม่บางท่านเริ่มมีท่าทางการเดินที่เปลี่ยนไป ที่เป็นลักษณะการเดินต้วมเตี้ยม คล้ายการเดินของนกเพนกวิน ซึ่งการเดินแบบนี้จะช่วยให้คุณแม่หาสมดุลในการเดินได้ดีขึ้น

นอกจากนี้ คุณแม่หลายท่านยังอาจรู้สึกเจ็บบริเวณเชิงกราน (Pelvic pain) เนื่องจากศีรษะของทารกเริ่มหย่อนลงมาใกล้บริเวณช่องคลอดมากขึ้นเรื่อยๆ และมดลูก (Uterus) มีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความลำบากและไม่สบายตัวขณะเดิน คุณแม่สามารถบรรเทาอาการปวดเชิงกรานได้ด้วยการออกกำลังกายบริเวณเชิงกราน (Pelvic exercise) การแช่น้ำอุ่น การประคบร้อน และ การนวด เป็นต้น

อาการที่พบบ่อยของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 36 
Signs & Common Symptoms of Pregnancy

1. อาการเจ็บครรภ์หลอก (Braxton Hicks contractions) ซึ่งเป็นการบีบตัวของมดลูกประมาณ 30 วินาที ถึง 2 นาที ซึ่งในช่วงอายุครรภ์ 36 สัปดาห์คุณแม่จะมีอาการเจ็บครรภ์หลอกที่มีความถี่มากขึ้น ถือเป็นภาวะเจ็บครรภ์เตือน (False labor – False alarm) แต่หากคุณแม่มีอาการเจ็บครรภ์หลอกที่รุนแรงและถี่กว่าปกติ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา

2. อาการตกขาว (Vaginal discharge) ซึ่งเกิดขึ้นได้เป็นปกติและมักเกิดเมื่ออายุครรภ์เข้าสู่ช่วง 36 สัปดาห์ โดยมักมีสีอมชมพูหรือในบางกรณีมีเลือด ปนออกมาด้วยเนื่องจากปากมดลูก (Cervix) นั้นระคายเคืองง่ายกว่าปกติ

3. อาการเท้าและข้อเท้าบวม ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนในสัปดาห์นี้ โดยไม่เพียงแต่บริเวณเท้าและข้อเท้าเท่านั้นที่มีอาการบวม แต่มือ นิ้วมือ และ ใบหน้า อาจมีอาการบวมด้วย คุณแม่ควรดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยในการขับถ่ายโซเดียม และของเสียอื่นๆออกจากร่างกายเพื่อลดอาการบวม

4. อาการท้องอืด ซึ่งจะทำให้คุณแม่ผายลมและเรอบ่อยมากขึ้น ดังนั้นคุณแม่ควรทานอาหารให้ช้าลง เพื่อลดการรับลมส่วนเกินทางปาก

การดูแลสุขภาพและการปฏิบัติตัวของคุณแม่
The Doc Says

ในช่วงสัปดาห์ใกล้คลอดนี้คุณแม่ควรเริ่มศึกษาวิธีการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือเด็กแรกเกิดที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น หรือที่เรียกว่า CPR (Cardiopulmonary Resuscitation) หรือเข้ารับการอบรมที่โรงพยาบาลโดยแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นการเตรียมตัวหากเกิดเหตุฉุกเฉิน

นอกจากนี้คุณแม่ยังควรแบ่งมื้ออาหารให้เล็กลงแต่มีจำนวนมื้อที่เพิ่มมากขึ้น และทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน บี6 (Vitamin B6 – Pyridoxine) ซึ่งสามารถพบได้มากในกล้วย อะโวคาโด ข้าวกล้อง ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ผักโขม แตงโม เนื้อสัตว์ ฯลฯ เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมโปรตีนได้ดีมากขึ้น ร่างกายของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์สามารถนำโปรตีนไปใช้ได้มากขึ้น โดยเฉพาะในทารก ซึ่งโปรตีนมีส่วนสำคัญในการช่วยสร้างเซลล์ รวมไปถึงการพัฒนาสมอง และ ระบบประสาท

+ M.D. Visit Planner: Discuss episiotomy

+ To Do: Join breastfeeding education support group

36สัปดาห์ ลูกหนักกี่โล

พัฒนาการทารกในครรภ์ช่วงตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ น้ำหนักตัวของลูกน้อยจะอยู่ที่ 2.7 กิโลกรัม ความยาวประมาณ 51 เซนติเมตร ถ้าลูกคลอดก่อนกำหนดในช่วงสัปดาห์นี้ ไม่จำเป็นต้องเข้าตู้อบหรือได้รับการดูแลใด ๆ เป็นพิเศษนะคะ เพราะทารกตัวน้อยหายใจได้ด้วยตัวเองแล้ว และดูดนมแม่ได้เองด้วยเช่นกันค่ะ

อายุครรภ์ 36 สัปดาห์สามารถคลอดได้ไหม

การตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ จะครบกำหนดที่ 38-41สัปดาห์ หรือประมาณ 9 เดือน โดยเฉลี่ยหากคลอดก่อน 37 สัปดาห์ทางการแพทย์ ถือว่าคลอดก่อนกำหนด แต่ทารกที่คลอดตั้งแต่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ขึ้นไป ส่วนใหญ่จะไม่พบปัญหาหรือความผิดปกติใด ๆ แต่ทารกที่จะพบปัญหา คือ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมาก ๆ ทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย

อายุครรภ์36สัปดาห์ตรวจอะไรบ้าง

คุณแม่จะได้รับการตรวจหาเชื้อ GBS ในช่วงสัปดาห์นี้ด้วยนะคะ เป็นการทดสอบว่าคุณแม่มีแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Group B Streptococcus อยู่ในร่างกายหรือไม่ ถ้ามี คุณแม่อาจไม่รู้ตัวเลย และอาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะได้ สำหรับลูก แบคทีเรียนี้อาจทำให้เกิดปัญหาที่น่ากังวลกว่านั้นและอาจมีผลต่อ ...

อายุครรภ์ 38 สัปดาห์หนักเท่าไร

เกิดอะไรขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ 38 สัปดาห์ เจ้าตัวเล็กของคุณแม่เริ่มกลายเป็นเจ้าตัวกลมแล้ว ด้วยชั้นไขมันที่เพิ่มขึ้นใต้ผิวหนัง น้ำหนักของลูกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3.1 ก.ก (เว็บไทย 2.95 ก.ก.) และวัดความยาวจากศีรษะถึงปลายเท้าได้ประมาณ 18 – 21 นิ้ว (45.7 ถึง 53.3 ซ.ม.)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita