3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ เรื่อง เงิน

ห่วง 2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

“คนเราถ้าพอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข”

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2541 ที่แสดงถึงพระอัจฉริยภาพของพ่อหลวงของปวงชนชาวไทยในวิสัยทัศน์การมองภาพการลงทุนหรือการทำกิจการงานใด ๆ ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ว่าควรต้องดำเนินไปอย่างมีความพอดีและเป็นไปตามหลักของเศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด เป็นการชี้แนะแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงระดับรัฐบาล ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนต้องตั้งมั่นบนเงื่อนไข การใช้ความรู้และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ

แนวทางการใช้ชีวิตภายใต้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริต้องเริ่มจากตนเอง โดยเริ่มจากใจที่รู้จักพอ จุดมุ่งหมายเพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ พ้นจากความยากจน พอมีพอกินและมีสัมมาอาชีพ มีชีวิตที่เรียบง่าย ประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย และยึดถือทางสายกลาง รู้จักพอ พอดี และพอใจ

ในระดับเศรษฐกิจของประเทศ ได้มีการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอยู่หลายโครงการอย่างต่อเนื่อง จากการพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนแลกเปลี่ยนทรรศนะและสังเคราะห์องค์ความรู้ของความพออยู่พอกิน

สำหรับเรื่องการลงทุน ผู้ลงทุนสามารถที่จะใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์ให้เข้ากับการลงทุนได้อย่างไม่ยากเย็น และหากหมั่นปฏิบัติด้วยความเพียรพยายามด้วยแล้ว ผลตอบแทนที่ได้จะทำให้ผู้ลงทุนสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

  1. ความพอประมาณ หมายถึง ผู้ลงทุนจะต้องมีความพอดี ลงทุนเหมาะสมกับความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ และมีความคาดหวังกับผลตอบแทนที่พอเพียง ซึ่งไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป รู้จักขายเมื่อได้กำไรถึงระดับที่ตั้งใจไว้ ไม่โลภ
     
  2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจในการลงทุนแต่ละครั้ง ต้องอยู่ในระดับของความพอเพียงและมีเหตุผล โดยควรพิจารณาจากเหตุปัจจัยในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ ทั้งการดูพื้นฐานของหลักทรัพย์นั้นๆ ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการลงทุนอย่างรอบคอบ และมีการติดตามบริหารพอร์ต
    การลงทุนอยู่สม่ำเสมอ
     
  3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การที่ผู้ลงทุนต้องเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการลงทุน โดยเฉพาะปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การเมือง การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยและค่าเงิน อีกทั้งนักลงทุนควรคำนึงถึงสถานการณ์ต่างๆ ทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และบริษัทหลักทรัพย์ที่ลงทุน และควรกระจายการลงทุน เพื่อลดความเสี่ยงโดยรวมลง


นอกจากนั้น การตัดสินใจลงทุนและดำเนินกิจกรรมการลงทุนต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยเงื่อนไขทั้งความรู้และคุณธรรมประกอบควบคู่กันไปกับการใช้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง กล่าวคือ

  • เงื่อนไขความรู้ ผู้ลงทุนจะต้องมีความรอบรู้ในด้านการลงทุน มีความรอบคอบที่จะนำความรู้การลงทุนเหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนการลงทุน และความระมัดระวังในขั้นตอน
    การซื้อขาย
     
  • เงื่อนไขคุณธรรม เป็นจริยธรรมการลงทุน ที่ต้องเสริมสร้างให้กับจิตสำนึกของผู้ลงทุน ด้วยความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต ลงทุนอย่างถูกต้องตามเงื่อนไข และใช้สติปัญญาในการลงทุนอยู่เสมอ

สุดท้ายนี้ การเดินตามรอยของพ่อ ด้วยการลงทุนแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ต้องเริ่มจากตนเอง โดยเริ่มจากใจที่รู้จักพอเสียก่อน แล้วความมั่งคั่งจะเป็นผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้อย่างยั่งยืน

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไข เพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยสามารถใช้ได้กับประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐ


“…พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง...” พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2541 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2541

หลักเศรษฐกิจพอเพียง สามารถสรุปออกมาได้ 3 หลักการคือ การมีความพอประมาณ การมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งทั้ง 3 หลักการนี้ จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความรอบรู้ และต้องมีคุณธรรม


อันที่จริงแล้วปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางที่ใครๆ ก็นำไปประยุกต์ใช้ นำไปปฏิบัติได้ เพราะเป้าหมายสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงก็เพื่อการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน การวางแผนการเงินก็เช่นกัน เราสามารถวางแผนการเงินตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงได้ เพราะ “เงินก็คือทรัพยากรอย่างหนึ่ง” ที่เราต้องจัดสรรให้เพียงพอสำหรับปัจจุบันและอนาคต การวางแผนการเงินจึงเป็นเรื่องของการสร้างสมดุลทางการเงิน เพื่อให้มีเงินสำหรับใช้จ่ายได้ทั้งในวันนี้และในวันหน้า เพื่อการสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน เพื่อเป้าหมายในระยะยาว และเพื่อการเกษียณอย่างมั่นคง ซึ่งเราสามารถประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับการวางแผนการเงินได้ดังนี้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita