การ ทํา งานของร่างกาย 24 ชั่วโมง

ยุค New Normal ทำให้การทำงานจากที่บ้านกลายเป็นเรื่องปกติ จนเป็นกิจวัตรหลักของหลายๆ คนไปแล้ว ผลลัพธ์อีกด้านหนึ่ง คือ การทำลายข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ในการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งการทำงาน การเรียน การบริโภค การจับจ่ายซื้อของ รวมไปถึงการพักผ่อน และการใช้เวลาอยู่กับงานหรือกิจกรรมบางอย่างมากจนเกินไป จนทำให้เวลานอนดึกขึ้นหรือไม่เป็นเวลา ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด เพราะร่างกายของเราเป็นเหมือนระบบฟันเฟืองเครื่องกลที่ทำงานสัมพันธ์กันตลอดเวลาแม้ในขณะที่เราหลับ การใช้ชีวิติอย่างไม่ถูกต้องตาม “นาฬิกาชีวิต” ทำให้ฮอร์โมนและระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างไม่เต็มที่ อาจสร้างปัญหาสุขภาพตามมาแบบเป็นลูกโซ่

จากข้อมูลของรพ.เปาโล พบว่าคนไข้ที่ทำงานเวลากลางคืนระยะยาว เมื่อแก่ตัวจะมีอัตราพบโรคมะเร็ง โรคหัวใจ หลอดเลือดในสมองมากกว่าคนที่นอนปกติ และก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นในผู้หญิง

นาฬิกาชีวิต เป็นแนวคิดที่อธิบายการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่ทำงานได้ดีตามช่วงเวลาต่างๆ ตลอด 24 ชั่วโมง ดังนี้

  • 01.00 - 03.00 น. ช่วงเวลาของตับ ที่มีหน้าที่สร้างน้ำดีเพื่อย่อยไขมัน ผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมการเผาผลาญ โปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน ดังนั้น ควรนอนหลับให้สนิท ให้ตับทำงานเต็มที่ หากขาดการนอนหลับในช่วงเวลานี้ จะทำให้ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยลง และมีความเสี่ยงก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ความดัน และโรคหัวใจ
  • 03.00 - 05.00 น. ช่วงเวลาของปอด ปอดฟอกเลือดได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น ควรตื่นแต่เช้าเพื่อมาสูดอากาศบริสุทธิ์ การตื่นนอนในช่วงนี้เป็นประจำจะทำให้ปอดทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส และดีสำหรับคนที่มีปัญหาในเรื่องระบบทางเดินหายใจ
  • 05.00 - 07.00 น. ช่วงเวลาของสำไส้ใหญ่ เป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการขับถ่ายเพื่อให้ของเสียและกากอาหารถูกขับออกจากร่างกาย การขับถ่ายทุกวันเป็นประจำนอกจากจะทำให้ไม่มีปัญหาท้องผูก ยังทำให้ผิวพรรณเราเปล่งปลั่งและลดการเป็นสิว แนะนำให้ดื่มน้ำสะอาดหลังตื่นนอนจะเป็นการกระตุ้นลำไส้และช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น
  • 07.00 - 09.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร ในการย่อยอาหารต่างๆ ได้ดีที่สุด จึงควรเลือกทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์เป็นการเริ่มต้นวันที่ดีกว่ากินแค่ขนมปังกับกาแฟ การกินมื้อเช้าเป็นประจำจะทำให้กระเพาะอาหารแข็งแรง ลดโอกาสในการเกิดโรคอ้วนและโรคกระเพาะ
  • 09.00 - 11.00 น. ช่วงเวลาของม้ามและตับอ่อน และเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะตื่นตัวที่สุดหลังตื่นนอน ตับอ่อนจะนำสารอาหารที่ได้ ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ส่วนม้ามจะคอยดักจับเชื้อโรคและสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงขึ้นใหม่ ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทาน จึงไม่ควรนอนในเวลานี้เพราะจะทำให้ตับและม้ามอ่อนแอ และจะรู้สึกอ่อนเพลียตลอดทั้งวันได้
  • 11.00 - 13.00 น. ช่วงเวลาของหัวใจ ในการทำงานเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกาย จึงควรหลีกเลี่ยงเรื่องเครียด พยายามทำให้หัวใจผ่อนคลายมากที่สุด
  • 13.00 – 15.00 น. ช่วงเวลาของลำไส้เล็ก ควรละเว้นการกินอาหารทุกชนิด เพื่อให้ลำไส้เล็กดูดซึมอาหารที่เป็นน้ำไปสร้างกรดอะมิโน เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้อย่างเต็มที่
  • 15.00 - 17.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ เหมาะกับการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมต่างๆเพื่อให้เหงื่อออก และเราไม่ควรอั้นปัสสาวะเพื่อให้ของเสียระบายออกจากร่างกายได้ดีขึ้น
  • 17.00 - 19.00 น. ช่วงเวลาของไต เพราะหลังจากทานอาหารหรือดำเนินกิจวัตรประจำวันมาตลอดทั้งวัน จะทำให้ของเสียในร่างกายสูงขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรอยู่นิ่งๆ แต่ต้องหากิจกรรมเพื่อให้ร่างกายเคลื่อนไหว และกระตุ้นให้ไตทำงานได้ดีขึ้น เช่น ทำงานบ้าน เดินช้อปปิ้งหลังเลิกงาน หรือออกกำลังกาย
  • 19.00-21.00 น. ช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นช่วงเวลาของการ Slow Life ทำกิจกรรมเบาๆ เตรียมตัวเข้านอน เพราะเยื่อหุ้มหัวใจมีหน้าที่สูบฉีดเลือด ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนัก เสี่ยงโรคหัวใจโต สำหรับคนที่ชอบทำงานดึกๆ หรือเที่ยวกลางคืนควรระวัง
  • 21.00-23.00 น. ช่วงเวลาที่ต้องทำให้ร่างกายอบอุ่น เพื่อให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพ จึงควรทำร่างกายให้อบอุ่น ไม่ร้อนไม่หนาวจนเกินไป หากถ้าไม่ได้พักผ่อนในช่วงนี้อาจจะทำให้เป็นโรคเลือดจาง เพราะเม็ดเลือดแดงอ่อนแอ
  • 23.00 - 01.00 น. ช่วงเวลาของถุงน้ำดี ควรดื่มน้ำก่อนนอน จะช่วยให้ถุงน้ำดีได้มีน้ำเก็บเอาไว้ใช้ในยามที่ร่างกายหลับ และเจือจางไม่ให้น้ำดีข้นจนเกินไปจนทำให้ไขมันตกตะกอน จนส่งผลเสีย เช่น ตื่นกลางดึก อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย ลงพุง มีถุงไขมันใต้ตา หรือขาดวิตามินในกลุ่มที่ละลายในไขมัน

แล้วถ้าหากนอนในเวลากลางวันในเวลาที่เท่ากับกลางคืน หรือปรับสภาพห้องนอนเพื่อหลอกร่างกาย จะเป็นการหลอกนาฬิกาชีวิตได้หรือไม่

คำตอบคือ “ไม่ได้” เพราะนาฬิกาในร่างกายของเรามีความสอดคล้องกับธรรมชาติ ตามพระอาทิตย์ขึ้น-พระอาทิตย์ตก ผ่านต่อมในสมองเรียกว่า ต่อมไพเนียล (Pineal Gland) ทำหน้าที่เป็นเลเซอร์วัดแสง เมื่อแสงลดลงหรือถึงเวลากลางคืนจะสร้างเมลาโทนินทำให้เรารู้สึกง่วง และต้องเข้านอน เพื่อให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ จะพบได้มากในกรณีคนที่อยู่ในประเทศเอเชียมานานหลายปี เมื่อต้องไปประเทศยุโรปแม้จะเป็นแค่ช่วงเวลาหนึ่ง ร่างกายก็จะใช้เวลาปรับตัวประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อให้เราเข้านอนตามเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและตก ใน Time Zone นั้นๆ แทนที่จะเข้านอนตามเวลา Time Zone เดิม

ดังนั้นสำหรับใครที่ปรับตัวให้ทำงานกลางคืนและนอนกลางวันได้แล้วนั้น จะเป็นเพียงแค่ความเคยชิน แต่นาฬิกาชีวิตก็ยังคงเดินตามเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่ถ้าหากเลี่ยงไม่ได้ ก็พยายามพักผ่อนให้เพียงพอให้มากพอเท่าที่ทำได้ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะสุขภาพเป็นเหมือนบ้านที่มีแค่หลังเดียวและจะต้องอาศัยร่างกายของเรานี้ไปตลอดชีวิตเช่นกัน

ไต อวัยวะที่ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดและขับออกพร้อมกับน้ำในรูปของปัสสาวะ ไตของเราจะทำงานในช่วงเย็นๆ คือเวลา 17.00 น. – 19.00 น. เราจะช่วยไตให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ด้วยการไม่ทานอาหารในปริมาณมากๆ ในช่วงเวลานี้ เพราะหากเราทานอาหารในปริมาณที่มาก เลือดในร่างกายจะถูกดึงไปใช้เพื่อย่อยอาหารที่บริเวณกระเพาะและม้าม แทนที่จะไปหล่อเลี้ยงไตที่กำลังขับของเสียออกจากร่างกาย

ถุงน้ำดี

ถุงน้ำดี อวัยวะที่ทำหน้าที่ในการเก็บสะสมน้ำดี (bile) เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร โดยจะมีโครงสร้างที่ติดต่อกับตับ ซึ่งเป็นอวัยวะที่ผลิตน้ำดี และลำไส้เล็กตอนต้น ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการปล่อยน้ำดีออกสู่ทางเดินอาหาร ช่วงเวลาที่หลอดเลือดแดงจะนำออกซิเจนมาเลี้ยงถุงน้ำดีเพื่อให้ถุงน้ำดีทำงานได้อย่างเต็มที่อยู่ในช่วงเวลาระหว่าง  23.00 – 01.00 น. และจะส่งต่อให้ตับรับช่วงต่อสำหรับการทำงานในช่วงเวลา 01.00 – 03.00 โดยในช่วงเวลานี้ร่างกายของเราควรได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่เพื่อให้ร่างกายขับของเสียออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

ปอด

ปอด ต้นทางของการรับออกซิเจนโดยการหายใจ การหายใจเป็นการนำน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเซลล์เข้าสู่หลอดเลือดและเลือดจะทำหน้าที่ลำเลียงไปยังปอด จากนั้นปอดจะทำหน้าที่กรองลิ่มเลือดเล็กๆ ที่ตกตะกอนออกจากเส้นเลือดดำ การทำให้ปอดแข็งแรงนั้นต้องหมั่นออกกำลังกาย เพื่อให้ปอดขยันทำงาน และช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการออกกำลังกายเพื่อให้ปอดแข็งแรงคือช่วงเช้า เวลาประมาณ 5.00 น และช่วงบ่ายประมาณ 15.00 – 17.00   น.

การดูแลร่างกายจากภายในไม่ใช่เรื่องยากเลยค่ะ เพียงรู้จักช่วงเวลาในการทำงานของส่วนต่างๆ เพื่อบริหารการทำงานของระบบอวัยวะภายในให้มีประสิทธิภาพสูงสุดก็จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและห่างไกลโรคแล้วล่ะค่ะ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita